มนุษย์ทุกผู้ทุกคนย่อมมีความกลัว นักชีววิทยาเชื่อว่าความกลัวเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความอยู่รอด บางคนอาจจะกลัวแมลง บางคนอาจจะกลัวสัตว์มีพิษ หรือบางคนอาจจะกลัวคนแปลกหน้า ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ แต่ถ้าหากเราเกิดความกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป หรือกลัวในสิ่งที่คนอื่นไม่กลัวจนกลายเป็น “โรคกลัว” นั่นย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางพฤติกรรมที่อาจเป็นปัญหาได้ ดังนั้นเรามารู้จักโรคกลัวนี้ให้มากขึ้น และเรียนรู้วิธีการที่จะอยู่ร่วมกับความกลัวโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเรากัน
โรคกลัว เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งจะเป็นไปอย่างไร้เหตุผล และจะกลัวเฉพาะสิ่งเร้าบางอย่างเท่านั้น เช่น โรคกลัวเจ้านาย (Bossophobia) โรคกลัวการลงโทษ (Poinephobia) โรคกลัวที่ทำงาน (Workplace Phobia) โรคกลัวความล้มเหลว (Atychiphobia) โรคกลัวการตัดสินใจ (Decidophobia) เป็นต้น โรคเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่ไม่น่ากลัวและคนทั่วไปไม่กลัวกัน ในกรณีรุนแรงไม่เพียงแค่จะมีอาการหวาดกลัวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเอ่ยถึง หรือเห็นสิ่งที่มีความใกล้เคียงกันจะทำให้รู้สึกกลัวด้วย
โรคกลัวจัดเป็นโรคที่ผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นของโรคอย่างชัดเจน แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากปมในอดีตที่ฝังใจ หรือติดค้างอยู่ในจิตใต้สำนึกที่อาจเคยพบเจอเหตุการณ์ไม่ดีกับสิ่งนั้นมาก่อน เช่น อาจเคยถูกตำหนิบ่อย ๆ อาจเคยมีปัญหากับที่ทำงานอย่างรุนแรง เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความไม่สมดุลกันของสารเคมีในสมอง และการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกด้วย อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดโรคจะขึ้นอยู่รายบุคคลที่แตกต่างกันไป
ผู้ป่วยจะเกิดอาการผิดปกติขึ้นอย่างกะทันหัน เมื่อพบกับสิ่งที่กลัว ดังนี้
โรคกลัวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
สามารถรักษาด้วย 2 วิธี ได้แก่
โรคกลัวจะสัมพันธ์กับสภาพจิตใจ คนที่มีอาการมานานและไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้นหากพบว่าตัวเอง หรือคนรอบข้างมีอาการกลัวที่ผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าที่อาจเป็นปัญหาใหญ่ในเวลาต่อมา