เกาต์เทียม แม้ไม่อันตรายมาก แต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
เกาต์เทียม แม้ไม่อันตรายมาก แต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

เกาต์เทียม (Pseudogout) คือ โรคชนิดหนึ่งของข้ออักเสบ เกิดจากผลึกเกลือ Calcium Pyrophosphate Dihydrate สามารถพบการอักเสบได้ที่บริเวณข้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เข่า มือ ไหล่ ศอก เท้า และนิ้วมือ แม้ว่าไม่อันตรายมากแต่จะส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งหญิง ชาย มีความเสี่ยงเท่ากัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสประสบกับโรคนี้

 

 

สาเหตุของเกาต์เทียมเกิดจากอะไร

 

  • การก่อต่อตัวของสารไพโรฟอสเฟตอนินทรีย์ในกระดูกอ่อนผิวข้อเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการตกผลึกเกลือ CPPD นอกจากนี้ยังมาจากปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่

 

  • โรคระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึมบางอย่างผิดปกติจากกรรมพันธุ์ เช่น ไทรอยด์ต่ำ รวมทั้งภาวะที่ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูง หรือธาตุเหล็กคั่งในร่างกายมาก

 

  • การเจ็บป่วยทางร่างกายโดยเฉพาะหลังผ่าตัด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่มีการสะสมสาร CPPD ไว้ในข้อ

 

 

ข้อมืออักเสบ

 

 

อาการเกาต์เทียม

 

  • ข้ออักเสบเฉียบพลันแบบเป็นๆ หายๆ

 

  • ปวดข้อเรื้อรัง คล้ายกับโรคข้อเสื่อม หรือรูมาตอยด์

 

  • ไม่แสดงอาการความผิดปกติ แต่พบจากภาพถ่ายทางรังสี

 

  • มีอาการของโรคข้อจากพยาธิประสาทเทียม

 

 

การวินิจฉัยเกาต์เทียม

 

ตรวจน้ำไขข้อ

 

  • เป็นวิธีวินิจฉัยแม่นยำ โดยแพทย์จะใช้เข็มเจาะเอาน้ำไขข้อไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเศษ ดูผลึกเกลือ CPPD หากพบว่ามีอยู่จริงจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู หรือพบหินปูนเกาะตัวอยู่ที่แนวกระดูกอ่อน

 

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถตรวจในแบบข้างต้นได้ แพทย์จะทำการเอกซเรย์ข้อว่ามีเงาของผลึก CPPD เกาะอยู่ที่กระดูกอ่อน หรือไม่ ร่วมด้วยกับการซักประวัติ การตรวจโลหิต

 

 

 ข้อไหล่อักเสบ

 

 

การรักษาเกาต์เทียม

 

ปัจจุบันยังไม่มีตัวยา หรือสารละลายผลึก CPPD บริเวณกระดูกอ่อนในข้อได้ แพทย์จะเน้นไปที่การบรรเทาอาการอักเสบ และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ ด้วยวิธีดังนี้

 

  • ใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

 

  • ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีปัญหาที่ไต และการแข็งตัวของเลือด จะได้รับสเตียรอยด์โดยการฉีดเข้าข้อ

 

  • การดูดน้ำในข้อ จะช่วยลดการอักเสบ บวม ที่ข้อได้

 

  • หากมีการทุเลาลงแล้ว สามารถทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของข้อ

 

 

เกาต์กับเกาต์เทียมแตกต่างกันอย่างไร

 

  • โรคเกาต์เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง จากเนื้อสัตว์ปีก ทะเล การบริโภคน้ำตาล หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเกาต์เทียมไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องเลย อีกทั้งผู้ชายจะมีความเสี่ยงเป็นได้มากกว่าผู้หญิง ดังนั้นวิธีรักษาจะขับยูริกออกเป็นหลัก  ทั้งนี้เมื่อตรวจน้ำไขข้อจะพบว่าผลึก MSU (Monosodium Urate) มีลักษณะคล้ายเข็ม

 

 

 ข้อนิ้วเท้าอักเสบ

 

 

การดูแลผู้ป่วยเกาต์เทียม

 

  • พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลการรักษา

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาบีบ นวด บริเวณข้อที่ปวด เพราะอาจอักเสบมากยิ่งขึ้น

 

  • รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ถึงแม้ว่าอาการทุเลาลง ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด

 

  • ออกกำลังกายประเภทที่ลดแรงกระแทกต่อข้อเป็นประจำ

 

  • ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน พยุงร่างกาย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุลื่นล้ม

 

 

เป็นเรื่องยากที่จะป้องกันการสะสมของผลึกเกลือ CPPD แต่สามารถแก้ไขได้โดยการรักษาโรคไทรอยด์ให้หายขาด ทั้งนี้โรคเกาต์เทียมไม่ได้สัมพันธ์กับอาหารไขมันสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ก็ควรบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ งดสุรา อาหารรสจัด  หากมีความผิดปกติใด ๆ ควรรีบพบแพทย์โดยทันที

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพข้อเข่าเสื่อม

 

 

กินไก่เป็นโรคเก๊าท์จริงหรือ ?

 

 

ข้ออักเสบ อาการปวดที่อันตรายกว่าที่คิด