ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยโรคนิ่วอยู่เยอะพอสมควร โดยเฉพาะนิ่วทางเดินปัสสาวะ หรือ Urolithiasis เพราะนิ่วทางเดินปัสสาวะจะไม่แสดงตัวแต่มีอาการออกมา บ้างก็มีอาการปวดที่หลังหรือบริเวณบั้นเอว จะเป็น ๆ หาย ๆ บางรายก็ปวดท้องตื้อ ลามไปจนถึงบริเวณชายโครงด้านหลัง อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็เป็นได้
ขณะปัสสาวะ มีก้อนกรวดหรือเม็ดนิ่วปะปนออกมา
อาจมีอาการเจ็บปวดบริเวณท้องและหลัง หรือจุดที่นิ่วอุดตันอยู่
ปัสสาวะลำบาก แสบ มีเลือด และติดขัด
อาจจะเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ถ้าเกิดกรณีที่ก้อนนิ่วเสียดสีกับท่อปัสสาวะจนเกิดแผล
ปวดหลัง บั้นเอว ท้องน้อยด้านล่าง
สอบถามประวัติและตรวจร่างกายบริเวณระบบทางเดินปัสสาวะ
เอกซเรย์ช่องท้องบริเวณ ท่อไต ไต กระเพาะปัสสาวะ
ส่องกล้องตรวจบริเวณกระเพาะปัสสาวะ
ตรวจอัลตราซาวด์ และCT Scan
ตรวจปัสสาวะ เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีเลือดปนออกมาไหม
นิ่วทางเดินปัสสาวะ เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีอาการรุนแรงมาก อาจจะทำให้เกิดการเจ็บปวดถึงขั้นทรมานและเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้
การรักษาแบบสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก
การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดต่อมลูกหมาก ในกรณีที่เกิดนิ่วจากการคั่งค้างของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
ส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ และท่อไต
ใช้สายสวนท่อปัสสาวะ ในกรณีที่เกิดโรคนิ่วจากกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ
เจาะรูส่องกล้องผ่านผิวหนัง
ควรดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร และไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลีกเลี่ยงการบริโภครสเค็มและอาหารที่มีออกซาเลตสูง
ในกรณีที่ต้องสวนปัสสาวะเอง ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
งดทำงานหนักหลังจากการรักษาประมาณ 1-2 วัน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และคอยสังเกตว่าขณะปัสสาวะ มีเศษนิ่วหลุดตามออกมาบ้างไหม
นิ่วทางเดินปัสสาวะ โรคนี้ไม่มีการแสดงตัวออกมา เช่น แผล สะเก็ดแผล หรืออะไรก็ตาม แต่อาการที่แสดงออกมาจะรุนแรงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัสสาวะแล้วรู้สึกแสบ ลำบาก มีเลือดปนออกมา ออกไม่หมดหรือไม่สุด จนทำให้เกิดการคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อ ถ้าผู้ป่วยท่านไหนมีอาการตามที่กล่าวไป แนะนำรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน ยิ่งรู้ตัวเร็วยิ่งดี เพราะจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
อาหารที่เสี่ยงเป็นนิ่ว และทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
ผ่าตัดนิ่ว พักฟื้นอย่างไรไม่ให้เป็นอันตราย