ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 (Vaccine-Induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia) คือ การที่วัคซีนป้องกันโควิด–19 ได้เข้าไปเพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติในร่างกาย จึงเกิดกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด ส่งผลให้ลิ่มเลือดไปอุดตัน เส้นเลือดในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 นี้ มักจะเกิดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

 

 

การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19

 

การรายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 (Vaccine-Induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia) ครั้งแรกในทวีปยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี และประเทศอินเดีย เป็นประเทศแรกที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 มักจะเกิดขึ้นในผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 ยี่ห้อ คือ วัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson)

 

นอกจากนี้ยังสามารถพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19  ได้แก่

      

  • 1. พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

      

  • 2. ประชากรทั่วไปมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19  สัดส่วน 1 ต่อ 100,000 คน

      

  • 3. ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 55 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกัน  โควิด–19 สัดส่วน 1 ต่อ 50,000 คน

      

  • 4. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด–19 สัดส่วน 1 ต่อ 1,000,000 คน

 

 

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 มีอาการอย่างไร

      

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 จะแสดงอาการหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ประมาณ 4-30 วัน มักจะแสดงอาการดังนี้

      

  • วิงเวียนศีรษะ

      

  • ปวดศีรษะ

      

  • ตาพร่ามัว

      

  • แขน และขา อ่อนแรง ร่วมกับมีอาการเหน็บชา

      

  • เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

      

  • เกิดอาหารชัก เป็นลม หมดสติ

      

  • คลื่นไส้ อาเจียน

      

  • ปวดท้อง

      

  • บางกรณีจะเกิดรอยช้ำที่ผิวหนัง

 

 

การวินิจฉัยภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19

      

  • 1. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) บริเวณอวัยวะที่มีความผิดปกติ เช่น สมอง หน้าท้อง

      

  • 2. ผู้ป่วยที่ประสบภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 จะมีปริมาณเกล็ดเลือดที่ต่ำ

      

  • 3. การตรวจหาภูมิคุ้มกันในร่างกาย ที่สร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านเกล็ดเลือดของตัวเอง

 

 

ลิ่มเลือดอุดตัน

 

 

การรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19

 

การรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 ร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำด้วยยา

      

  • 1. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

      

  • 2. ยาที่มีสารอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำ Intravenous Immunoglobulin (IVIG) เพื่อยับยั้งภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปของผู้ป่วย

      

  • 3. ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น Methylprednisolone หรือ Prednisolone

      

  • 4. การแลกเปลี่ยนพลาสมา

 

 

การป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19

      

  • 1. ดื่มน้ำในปริมาณมาก ทั้งก่อน และหลังจากการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันเลือดหนืดข้น

      

  • 2. งดดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีน เช่น กาแฟ เพราะจะทำให้เลือดหนืดข้นได้

      

  • 3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการฉีดวัคซีน

      

  • 4. ควรปรึกษาแพทย์ ในการหยุดใช้ยาที่ส่งผลให้เลือดหนืดขึ้นชั่วคราว เช่น ยาฮอร์โมน และยาคุมกำเนิด

      

  • 5. ผู้ที่ได้รับการผ่าตัด ควรรักษาตนเองให้หายเป็นปกติก่อนทำการฉีดวัคซีน

 

 

พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มน้ำน้อยเกินไป และการไม่ออกกำลังกาย ก็เป็นอีกในการเกิดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 ได้ ดังนั้นเมื่อได้รับวัคซีนป้องกันโควิด–19 ไม่ควรตื่นตระหนกเมื่อมีอาการที่ผิดปกติ ควรรีบไปปรึกษาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าหากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ร่วมกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จะเป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

ผลข้างเคียงเมื่อต้องฉีดวัคซีนโควิดแอสตร้าเซนเนก้า