MRI คืออะไร ตรวจส่วนไหนของร่างกาย
MRI คืออะไร ตรวจส่วนไหนของร่างกาย

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือ เครื่องมือในการตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย โดยใช้เครื่องสนามแม่เหล็ก และคลื่นความถี่วิทยุ สร้างภาพที่มีความละเอียดสูง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ละเอียดยิ่งขึ้น ส่วนผู้ป่วยก็ไม่ได้รับผลกระทบจากรังสีจากการเอกซเรย์ เช่น MRI สมอง MRI กระดูกสันหลัง เป็นต้น

 

 

การทำงานของเครื่อง MRI

 

เครื่อง MRI ประกอบด้วยแม่เหล็กซึ่งมีไฮโดรเจนอะตอม เมื่อร่างกายอยู่ท่ามกลางสนามแม่เหล็ก ร่างกายก็จะมีโมเลกุลของน้ำ เครื่อง MRI ส่งสัญญาณวิทยุ เข้าไปกระตุ้นอวัยวะ ทำให้เกิดการกำทอน (Resonance) ตามหลักการของฟิสิกส์ เมื่อเครื่องหยุดการส่งสัญญาณวิทยุแล้ว ร่างกายก็จะปล่อยไฮโดรเจนอะตอม เข้าสู่อุปกรณ์เข้ารับสัญญาณ ออกมาเป็นสัญญาณภาพบนจอ

 

 

MRI ตรวจส่วนไหนของร่างกาย

 

  • MRI สมอง สามารถตรวจได้ทุกเพศ ทุกวัย แม้ว่าจะไม่มีอาการทางสมอง โดยตรวจเนื้อสมอง และเส้นเลือดสมอง หากมีอาการปวดหัว ความจำเสื่อม มึนหัว อาเจียน เห็นภาพซ้อน  ควรมาตรวจ MRI สมอง

 

  • MRI ช่องท้อง และกระดูกเชิงกราน สามารถตรวจได้ทุกเพศ ทุกวัย หรือหญิงตั้งครรภ์ ตรวจหาเนื้องอก มะเร็งตับ นิ่ว ความผิดปกติของมดลูก และต่อมลูกหมาก

 

  • MRI กระดูกสันหลัง สามารถตรวจให้เห็นถึง หากมีอาการปวดหลัง แขนขาอ่อนแรง อั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ หรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุมีปัญหา เรื่องหมอนรองกระดูก ควรมาตรวจ MRI กระดูกสันหลัง เพื่อแพทย์จะได้วางแผนในการรักษา

 

  • MRI กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อ สามารถตรวจให้เห็นถึงการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ ในกระดูก หรือการฉีกขาดของกระดูกอ่อน ทำให้วางแผนการรักษา น้ำในเข่า ข้อศอก หรือข้อนิ้ว

 

  • MRI เส้นเลือด สามารถตรวจเส้นเลือดดำ และเส้นเลือดแดง เพื่อหาความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด  

 

 

วิธีการตรวจ MRI

 

  • เมื่อผู้ป่วยนอนลงบนเตียง เจ้าหน้าที่จะจัดตำแหน่งท่านอน และติดแถบรัดกันผู้ป่วยขยับ

 

  • ติดเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่ด้านซ้ายของหน้าอก และติดเครื่องวัดการหายใจไว้ที่หน้าท้อง

 

  • ระหว่างการตรวจจะมีเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ป่วยให้กลั้นหายใจ ไม่เกิน20 วินาที เป็นระยะๆ

 

  • ผู้ป่วยที่รับการฉีดสารทึบรังสีจะต้องตรวจเลือดหาการทำงานในไต ก่อนตรวจ MRI หลังจากนั้นแพทย์จะฉีดสารทึบรังสีเข้าที่เส้นเลือดดำ

 

 

การเตรียมตัวก่อน และหลังตรวจ MRI

 

  • ถ้าเป็นการตรวจ MRI ช่องท้อง และกระดูกเชิงกราน ต้องงดน้ำ และอาหาร 4-6 ชั่วโมง ตรวจ MRI ส่วนอื่นๆไม่ต้องงด

 

  • ผู้ป่วยต้องใส่ชุดของทางโรงพยาบาล ไม่แต่งหน้า ไม่นำเครื่องประดับที่ทำจากโลหะเข้าไป เช่น นาฬิกาข้อมือ แหวน สร้อย เข้าไปขณะตรวจ เพราะจะทำให้ภาพที่สแกนออกมาไม่ชัดเจน

 

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวที่แคบ แพทย์อาจจะมีการให้ยาสลบก่อนตรวจ

 

  • ใช้เวลาในการตรวจ 45 นาที - 3 ชั่วโมง แล้วแต่กรณี

 

  • หลังจากตรวจเสร็จแล้ว แพทย์จะวินิจฉัยจากภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วย และแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ

 

 

เครื่อง mri

 

 

MRI กับ CT SCAN

 

  • MRI จะเป็นการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะแก่การหาเนื้อเยื่อในร่างกาย เพราะ มีน้ำที่ช่วยให้เครื่องตรวจจับสัญญาณได้ดี ไม่ต้องใช้รังสี สารทึบแสงที่ใช้ คือ Gadolinnium ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ และไต

 

  • CT SCAN จะเป็นการใช้รังสีX ในการเอ็กซเรย์ เหมาะแก่การตรวจกระดูก เพราะเป็นส่วนที่ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง ใช้เวลาตรวจเพียง 10-15นาที สารทึบแสงที่ใช้มีส่วนประกอบของไอโอดีน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไต

 

 

MRI กับ โรคกลัวที่แคบ

 

การตรวจ MRI ของผู้ป่วยโรคกลัวที่แคบ จะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำ สร้างความผ่อนคลาย และประเมินอาการผู้ป่วยก่อนตรวจ บางกรณีสามารถนำญาติเข้าไปอยู่ได้ หรือถ้าเป็นอาการหนัก  แพทย์จะให้ยาคลายเครียดแก่ผู้ป่วยโรคกลัวที่แคบ ก่อนตรวจ MRI

 

 

การตรวจ MRI นั้นมีข้อดีหลายอย่าง แต่ต้องแลกกับการเสียเวลาตรวจที่นานกว่า และราคาที่สูงขึ้นเมื่อเทียบการตรวจอื่นๆ แต่ความคุ้มค่าของสุขภาพร่างกายนั้น เทียบไม่ได้ กับเงินทอง  และเวลาอันน้อยนิดที่เสียไป

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

เทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย โรงพยาบาลเพชรเวชพร้อมให้บริการตรวจ MRI  (คลิกลิงก์ด้านซ้ายเพื่อดูรายละเอียด)

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI