ภูมิแพ้ขึ้นตา
ภูมิแพ้ขึ้นตา หากปล่อยไว้อาจทำให้เสียบุคลิกภาพได้

 

ภูมิแพ้ขึ้นตา (Allergic Conjunctivitis) หรือเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เกิดจากเยื่อบุตาขาวมีการอักเสบจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้ ดวงตาจึงระคายเคือง อาจทำให้เสียบุคลิกภาพ แม้ว่าอาการจะไม่รุนแรงมาก แต่ถ้าหากปล่อยเอาไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจพัฒนาเป็นเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและคุณภาพชีวิตในระยะยาว โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือชุมชนแออัด

 

 

ภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดจากสาเหตุใด ? 

 

  • ดวงตาสัมผัสกับเชื้อโรค หรือถูกกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้

 

การใช้ยาหยอดตาบางชนิด

 

  • น้ำยาคอนแทคเลนส์ หรือการใช้ยาหยอดตาบางชนิด

 

  • ควัน, สารเคมี หรือมลพิษทางอากาศ

 

  • เกสรดอกไม้

 

  • ไรฝุ่น, ขนสัตว์

 

  • เครื่องสำอาง

 

  • กลิ่นน้ำหอม

 

  • การแพ้อาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล เป็นต้น

 

  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

 

 

ภูมิแพ้ขึ้นตามีอาการอย่างไร ? 

 

  • ตาขาวเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือชมพู

 

เคืองตา

 

  • คัน เคือง และแสบตา

 

  • น้ำตาไหล, ตาเยิ้ม, ชื้นแฉะ

 

  • ขี้ตาเหนียว 

 

  • มีอาการปวดบวมบริเวณเปลือกตา

 

  • ดวงตาไวต่อแสง

 

หากมีอาการร่วมเหล่านี้ และไม่บรรเทาลงภายใน 3-4 วัน ควรเข้าพบแพทย์ทันที

 

  • มีตุ่มที่ดวงตา หรือเปลือกตา

 

  • เจ็บ, ปวดอย่างรุนแรงที่บริเวณตา โดยเฉพาะเมื่อถูกแสงแดด หรือตอนอยู่ในบริเวณที่มีความสว่าง

 

  • การมองเห็นผิดปกติไปจากเดิม 

 

 

กลุ่มบุคคลเสี่ยงที่ควรระวังภูมิแพ้ขึ้นตา

 

 

  • ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรม

 

ผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์ประจำ

 

  • ผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์เป็นประจำ

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของภูมิแพ้ขึ้นตา

 

  • เยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง 

 

  • เกิดแผลที่กระจกตา 

 

  • การมองเห็นผิดปกติ

 

 

การวินิจฉัยภูมิแพ้ขึ้นตา

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยถึงอาการ และระยะเวลาของการเกิดโรค รวมทั้งประวัติภูมิแพ้ของบุคคลในครอบครัว ต่อมาแพทย์จะเริ่มวินิจฉัยดวงตาของผู้ป่วยจากภายนอกก่อนว่ามีอาการบวม แดง มากน้อยหรือไม่ และมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในดวงตาหรือเปล่า ด้วยวิธีการอื่นๆ ได้แก่

  

  • การใช้เครื่องออพธัลโมสโคป (Ophthalmoscope)

 

  • การขูดเก็บเยื่อบุตา (Conjunctival Swabs) เป็นการตรวจสอบการตอบสนองต่อภูมิแพ้จากเซลล์เม็ดเลือดขาว 

 

  • การตรวจโลหิต เพื่อตรวจสอบสารภูมิคุ้มกัน และสารที่สร้างโปรตีน

 

  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy Skin Test) เพื่อหาสารก่อภูมิแพ้ และการตอบสนองของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ 

 

 

การรักษาภูมิแพ้ขึ้นตา

 

ยาหยอดตา

 

  • ที่มีส่วนประกอบของยาต้านภูมิแพ้ และยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด สำหรับภูมิแพ้เฉียบพลัน

 

  • ที่มีส่วนประกอบของยาต้านภูมิแพ้, ยาระงับการหลั่งสารมาสต์เซลล์ และโตติเฟน สำหรับภูมิแพ้ตามฤดูกาล

 

รับประทานยา

 

  • ยาไดเฟนไฮดรามีน

 

  • ยาต้านภูมิแพ้ชนิดที่ทำให้ง่วงนอน และไม่ง่วงนอน โดยควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ 

 

 

การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตา

 

  • ประคบเย็นบนดวงตา

 

  • ล้างมือด้วยน้ำอุ่น หลังจากใช้ยาหยอดตา

 

 

การป้องกันภูมิแพ้ขึ้นตา

 

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้

 

  • เมื่อมีการสัมผัสสารเคมี ให้ล้างดวงตาด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือทางการแพทย์

 

ทำความสะอาดเครื่องนอน

 

  • ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยและเครื่องนอนเป็นประจำ

 

  • ติดตั้งเครื่องกรองอากาศ

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

 

  • รับประทานผัก และผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง

 

 

หากเป็นภูมิแพ้ขึ้นตา แล้วใช้มือไปขยี้จนเกิดแผล อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในอนาคต หรือกระจกตาทะลุได้ หากแผลเปิดต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที หากคุณมีอาการที่สงสัยว่าเป็นภูมิแพ้ขึ้นตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

คลินิกจักษุ