ขับถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding) คือ ความผิดปกติในอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร ที่ขับถ่ายออกมาเป็นโลหิตสีแดงสด หรืออุจจาระเป็นสีดำคล้ำ และน้ำตาลเข้ม ซึ่งไม่ได้มาจากโรคริดสีดวงเพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะไม่มีอาการเจ็บทวารหนัก แต่จะเห็นได้ถึงลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งมาจากหลากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะการมีเลือดออกมาจากอวัยวะที่มีหน้าที่ย่อยอาหาร ซึ่งไม่สามารถตรวจพบเองด้วยตาเปล่า จะต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วย
เลือดออกในกระเพาะอาหาร
ติ่งเนื้องอกลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่อักเสบ
เส้นเลือดของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ
ลำไส้ขาดเลือด
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มีอาการท้องผูกหรือท้องร่วง
เกิดการปวดเกร็งที่ท้อง
รู้สึกเจ็บปวดขณะถ่ายอุจจาระ
น้ำหนักลด, อ่อนเพลีย
วิงเวียนศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน, หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
หากเกิดการเสียเลือดมาก ผู้ป่วยบางรายอาจเสี่ยงเกิดภาวะช็อกขึ้นได้
หากมีอาการถ่ายเป็นเลือดแม้เพียงเล็กน้อย ไม่ควรปล่อยให้หายตามธรรมชาติ เพราะอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้นได้ ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
มีอาการถ่ายเป็นเลือดแบบเป็น ๆ หาย ๆ หรือบ่อยครั้ง ในระยะที่นานเกินกว่า 2 สัปดาห์แล้ว
ขณะถ่ายอุจจาระมีเลือดออกในปริมาณมาก
หากเกิดในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น เพื่อป้องกันการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
หากผู้ป่วยมีการถ่ายเป็นเลือดในปริมาณมาก หรือถ่ายเรื้อรัง อาจทำให้ร่างกายมีการสูญเสียเลือดมาก และอวัยวะภายในจะหมุนเวียนเลือดได้ไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่ภาวะช็อกได้ โดยหากผู้ป่วยมีการถ่ายเป็นเลือดจากริดสีดวงที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก แต่ปล่อยทิ้งไว้และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ อาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
ในขั้นแรกเมื่อมาพบแพทย์ จะเริ่มทำการซักประวัติ อาการร่วมต่าง ๆ ลักษณะเลือดที่ปนมากับอุจจาระ รวมทั้งการรักษาในอดีต หลังจากนั้นจะทำการตรวจสุขภาพทั่วไป เพื่อหาภาวะความผิดปกติร่วมอื่น ๆ ต่อมาจะทำการตรวจอวัยวะในระบบทางเดินอาหารอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น ได้แก่
การตรวจเลือด
เพื่อดูสาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจาง
การตรวจอุจจาระ
เพื่อหาเลือดที่แฝงอยู่ภายในอุจจาระ วิธีนี้จะเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่แบบเบื้องต้น
การตรวจชิ้นเนื้อ
เพื่อวินิจฉัยโรคอื่น ๆ เช่น ลำไส้อักเสบ เป็นต้น
การตรวจดูขอบทวารหนัก
เป็นการสังเกตแผลของโรคริดสีดวงทวาร แพทย์อาจมีการใช้นิ้วสวนเพื่อหาบริเวณที่เกิดเนื้องอกขึ้น
การสวนแป้งแบเรียม
เป็นการตรวจทางรังสี เพื่อหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ก่อนเอกซเรย์
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
Colonoscopy เป็นการใช้กล้องสอดผ่านทวารหนัก แล้วแสดงออกมาเป็นภาพบนจอเพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร
Gastroscopy เป็นการใช้กล้องหาความผิดปกติผ่านบริเวณปาก หลอดอาหารไปจนถึงกระเพาะ
การใช้ยา
เช่น ยาปฏิชีวนะ เพื่อบรรเทาอาการจากเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร หรือยาต้านการอักเสบเฉพาะบริเวณลำไส้ใหญ่
การให้น้ำเกลือ
สำหรับผู้ที่สูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาจจะมีภาวะความดันโลหิตต่ำหรือหน้ามืด เป็นต้น
การผ่าตัด
เช่น การผ่าตัดริดสีดวงทวาร, การผ่าตัดนำติ่งเนื้อออก หรือการผ่าตัดลำไส้ในส่วนที่เกิดถุงผนังอักเสบ เป็นต้น
การส่องกล้อง
สามารถทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้องหรือผ่านกล้อง Gastroscopy และ Colonoscopy เพื่อนำเนื้องอก, มะเร็ง หรือเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติออกมา
รับประทานผัก, ผลไม้ และธัญพืชที่มีกากใยสูง
ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
ไม่กลั้นอุจจาระหรือเบ่งขณะขับถ่ายอย่างรุนแรงโดยเด็ดขาด
ไม่ควรนั่งอยู่บนชักโครกเป็นเวลานาน
ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาโดยเฉพาะช่วงเช้า
หลังขับถ่ายควรชำระล้างทวารหนักด้วยน้ำสะอาดอย่างถูกสุขลักษณะ
หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, คาเฟอีนและงดสูบบุหรี่
หากมีการขับถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ทางที่ดีไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้หายเองตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีการถ่ายเป็นเลือดเพียงเล็กน้อย เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ