อาหารไม่ย่อย
อาหารไม่ย่อย หากปล่อยทิ้งไว้อาจเจ็บป่วยรุนแรง

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) คือ ความผิดปกติที่รู้สึกไม่สบายท้อง พะอืดพะอม บริเวณใต้หน้าอก ลิ้นปี่ ซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันหรือหลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงโรคจากระบบในทางเดินอาหาร ดังนั้นผู้ที่อาหารไม่ย่อย ไม่ควรปล่อยปละละเลยทิ้งไว้ เพราะมีความเสี่ยงถึงขั้นมะเร็งในกระเพาะอาหารและความเจ็บป่วยที่รุนแรงได้ ต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์มาตรวจหาความผิดปกติ

 

 

สาเหตุอาหารไม่ย่อยเกิดจากอะไร

 

รับประทานอาหารผิดสุขลักษณะ

 

  • เช่น บริโภคอาหารในปริมาณมากเกินไป

 

  • รีบรับประทานอย่างรวดเร็ว

 

  • ชื่นชอบอาหารรสจัด มีไขมันสูง

 

  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และน้ำอัดลม

 

พฤติกรรม

 

  • ความเครียด

 

  • สูบบุหรี่

 

  • ใช้ยาบางชนิด

 

ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

 

 

  • น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

  • มีแรงดันในช่องท้องมาก

 

 

กินอาหารไขมันสูง

 

 

อาหารไม่ย่อยมีอาการอย่างไร

 

  • จุกเสียด แน่นท้อง

 

  • มีความผิดปกติในช่องท้อง เช่น อืด เฟ้อ เรอออกมาบ่อย เพราะมีลมเยอะ

 

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

 

 

 แน่นท้อง

 

 

อาหารไม่ย่อยเสี่ยงเป็นโรคอะไร

 

  • กระเพาะอาหารมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการอักเสบ เกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง มีแผลและการบีบตัวไม่มีประสิทธิภาพ

 

  • แพ้กลูเตน

 

 

  • ลำไส้อุดตัน

 

  • ท้องผูก

 

 

  • ติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เล็ก

 

 

กระเพาะอาหารอักเสบ

 

 

อาหารไม่ย่อยควรรับประทานยาชนิดไหน

 

ยาลดกรด

 

ยาในกลุ่มที่ยับยั้งตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2

 

  • จะออกฤทธิ์ได้ช้าแต่นานกว่ายาชนิดข้างต้น

 

ยาในกลุ่มยับยั้ง Proton Pump

 

  • สามารถบรรเทาร่วมกับกรดไหลย้อน

 

ยากลุ่มเพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร (Prokinetics)

 

  • ช่วยในเรื่องของการบีบตัวของกระเพาะอาหารให้เข้าสู่ลำไส้เล็กเร็วขึ้น

 

  • ส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้ออวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร

 

ทั้งนี้ก่อนใช้ยาที่กล่าวมาทั้งหมด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ไม่ควรใช้เองโดยเด็ดขาด

 

 

ยาลดกรดแบบน้ำ

 

 

วิธีแก้เมื่ออาหารไม่ย่อย

 

  • แบ่งมื้ออาหารเป็น 5-6 มื้อต่อวัน

 

  • รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันอาหารไม่ย่อย

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือประกอบไปด้วยแก๊ส เช่น โซดา รวมทั้งการสูบบุหรี่

 

  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไป

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • ผ่อนคลายความเครียดโดยไม่กระทบต่อสุขภาพ เช่น เล่นกีฬา ฟังเพลง และนั่งสมาธิ

 

  • พบแพทย์ เพื่อปรึกษาอาการความผิดปกติ พร้อมทั้งการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่หาสาเหตุที่ทำให้อาหารไม่ย่อย รวมทั้งได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำในการรักษาต่อไป

 

 

โรงพยาบาลเพชรเวชพร้อมให้บริการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ สำหรับท่านที่มีอาการอาหารไม่ย่อยหรือประสบกับความเสี่ยงโรคในระบบทางเดินอาหาร ทั้งนี้ก่อนการตรวจจะมีวิสัญญีแพทย์คอยให้ยาชาหรือยาสลบ คลายความกังวลว่าจะเจ็บขณะทำการตรวจได้เลย ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเรื่องใดสามารถติดต่อสอบถามผ่านช่องทาง Line @petcharavej

เพิ่มเพื่อน



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

 

แผลในกระเพาะอาหาร แม้หายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้

 

ส่องกล้องกระเพาะ ตรวจหาความผิดปกติที่อาจซ่อนไว้