สมอง เป็นอวัยวะที่มีเซลล์ประสาทนับแสนล้านเซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์จะทำงานประสานกันโดยสื่อสารกันผ่านทางคลื่นไฟฟ้าสมอง หากคลื่นไฟฟ้าเกิดการทำงานที่ผิดปกติสิ่งที่ตามมาคือ อาการชัก ซึ่งมักพบบ่อยในเด็ก และผู้สูงอายุ หากเกิดอาการชักในเด็กบ่อยครั้งอาจมีผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ผู้ปกครองและผู้ใกล้ชิดเมื่อพบว่าบุตรหลานของตนเองเกิดอาการชัก กระตุก หรือเกิดอาการวูบ เหม่อลอย เบลอ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาไม่ให้กระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กนั่นเอง
โรคลมชัก (epilepsy) เกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองส่วนกลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกายเกิดความผิดปกติอย่างเฉียบพลัน ซึ่งคลื่นไฟฟ้าที่เกิดความผิดปกตินี้จะกระจายออกไปในบริเวณส่วนต่าง ๆ ของสมอง โดยอาการมักจะเกิดขึ้นได้ทั้งในขณะหลับ และขณะตื่น นอกจากนี้อาจเกิดจากพันธุกรรม หรือสมองติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย โดยโรคนี้จะมีอาการที่แตกต่างกันไปตามความผิดปกติของส่วนสมอง ดังนี้
โรคนี้เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งขณะหลับ และขณะตื่น ซึ่งมักจะพบมากในช่วงที่มีปัจจัยกระตุ้น เช่น เป็นไข้สูง หรืออดนอนติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นต้น โดยอาการชักมักจะเกิดขึ้นใน 1-5 นาที หากมีอาการนานเกิน 5 นาทีควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
แพทย์จะทำการเอกซเรย์สมองด้วยเครื่อง CT Scan เพื่อให้แพทย์เห็นภาพความผิดปกติของสมองที่อาจเป็นสาเหตุ หรือจุดกำเนิดของอาการชักได้ ส่วนวิธีการรักษาแพทย์จะให้ยากันชักเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดอาการชัก แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาแล้วไม่ได้ผลแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อผ่าเอาจุดกำเนิดของการเกิดโรคนี้ออก
สามารถใช้หลักการทั้งดูแลตนเองทั่วไป ดังนี้
โรคลมชักเป็นโรคที่ควบคุมไม่ได้ หากผู้ป่วยมีอาการมากกว่า 4 ครั้งต่อเดือน ควรรีบพบแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงที่จะชักต่อเนื่อง หรือชักจนเสียชีวิตได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI