ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) เป็นภาวะที่เกิดจากพฤติกรรมการทานอาหาร และดื่มแอลกอฮอล์ เป็นหนึ่งในภัยเงียบเนื่องจากอาการที่ไม่แสดงออกมาอย่างชัดเจน และสังเกตได้ยาก สามารถรักษาได้ด้วยการลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงการทานไขมัน และป้องกันได้ด้วยการตรวจสุขภาพ
ไขมันพอกตับ เป็นภาวะจากการสะสมของไขมันบริเวณตับที่มากเกินมาตรฐานของคนทั่วไป โดยจะกินพื้นที่ของตับ 5-10 % เนื่องจากความผิดปกตินี้จะไม่แสดงอาการหรือความเจ็บปวดอย่างชัดเจน จึงจัดว่าเป็นภัยเงียบที่ควรระวัง
การดื่มแอลกอฮอล์ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยของผู้ที่ดื่ม เช่น ดื่มมานานแค่ไหน, อายุ และปริมาณการดื่มต่อวัน เป็นต้น
โรคประจำตัวอื่น ส่วนมากแล้วโรคที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงไขมันพอกตับ จะเป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับน้ำหนัก เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคอ้วน และโรคไขมันในเลือดสูง
เกิดจากปัจจัยด้านอื่น คือ การทานอาหารที่มีพลังงานสูงจำพวกไขมัน,แป้ง, น้ำตาลมากเกินไป และผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาต้านไวรัสบางชนิด เป็นต้น
บุคคลที่เป็นโรคอ้วน เช่น ผู้ชายที่มีรอบเอวเกิน 40 นิ้ว และผู้หญิงที่มีรอบเอวเกิน 35 นิ้ว เป็นต้น
บุคคลที่มีไขมันดี หรือ HDL ต่ำ
บุคคลที่มีความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
บุคคลที่เป็นโรคเบาหวาน และมีน้ำตาลในเลือดสูง 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
บุคคลที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระยะที่ 1
ไขมันที่เกิดการสะสมบริเวณตับยังไม่ส่งผลใด ๆ
ระยะที่ 2
ตับจะมีอาการอักเสบ และจะอักเสบเรื้อรังหากปล่อยไว้โดยไม่รักษานานกว่า 6 เดือน
ระยะที่ 3
เกิดพังผืดจากการอักเสบที่รุนแรง ตับจะถูกทำลาย และทดแทนด้วยพังผืด
ระยะที่ 4
ตับถูกทำลายอย่างมาก ทำให้เกิดการทำงานผิดปกติ และเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ หรือตับแข็ง
เนื่องจากอาการที่ไม่ค่อยแสดงออกมา ทำให้ผู้ป่วยสังเกตได้ยาก แต่ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ อาจจะเข้าข่ายว่าเป็นไขมันพอกตับได้ เช่น
คลื่นไส้, อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร
น้ำหนักตัวลด, ใต้ชายโครงด้านขวามีอาการตึง
เหนื่อยไม่มีแรง
เกิดน้ำคั่งที่บริเวณขา และท้อง
หากเข้าสู่ระยะที่ 4 ผู้ป่วยอาจจะเกิดภาวะตัวและตาเหลือง หรือภาวะดีซ่านขึ้นได้
ปัจจุบันสามารถตรวจหาภาวะดังกล่าวได้หลายวิธี เช่น
การตรวจเลือด
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การตรวจการทำงานของตับ
การตรวจด้วยอัลตราซาวด์
การตรวจด้วยเทคโนโลยีเครื่อง Fibroscan ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ผู้เข้ารับการตรวจจะไม่รู้สึกเจ็บ มีความแม่นยำสูง พร้อมได้ผลตรวจที่รวดเร็ว
ลดน้ำหนัก ให้ลดประมาณเดือนละ 1 - 2 กิโลกรัม จะสามารถช่วยลดอาการอักเสบในตับ และลดความรุนแรงของพังผืดได้
ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และงดการดื่มแอลกอฮอล์ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของไขมันพอกตับ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน เป็นเวลา 30 นาที
รักษาโรคที่เป็นอยู่ หากป่วยเป็นโรคที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับไขมันพอกตับ ให้รักษา และทานยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรทานอาหารเสริมด้วยตนเองหากแพทย์ไม่อนุญาต
เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่อันตรายอย่างมาก เพราะภาวะนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการใดออกมา จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการได้ยาก รู้ตัวอีกทีอาจจะรุนแรงถึงระยะที่ 3 และ 4 แล้ว หากผู้ป่วยท่านใดสังเกตเห็นความผิดปกติในร่างกายของตนเอง และอาจเข้าข่ายว่าจะเป็นไขมันพอกตับ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย รักษา และรับคำแนะนำในการป้องกันตนเองจากแพทย์
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โรคอ้วน สัญญาณเตือนของความเสี่ยงหลายโรคร้าย