โรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร ความทรมานที่เกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะ

 

โรคกระเพาะอาหาร (Gastritis) เกิดจากการที่เยื่อบุกระเพาะอาหารติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องแบบเรื้อรัง สามารถรักษาได้ด้วยการดูแลตนเอง เพื่อไม่ให้โรคมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร โดยโรคนี้สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำที่สุดด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น

 

 

โรคกระเพาะอาหารเกิดจากสาเหตุใด ?

 

 

กินอาหารรสจัด

 

 

  • เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชอบทานอาหารรสจัด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การอดหรือทานอาหารไม่เป็นเวลา เป็นต้น

 

  • เกิดจากการทานยาบางประเภท เช่น แอสไพริน

 

  • เกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไร ทำให้มีการอักเสบของกระเพาะอาหารเกิดขึ้น

 

  • มีความเครียด หรืออยู่ในสภาวะวิตกกังวล

 

 

อาการของโรคกระเพาะอาหาร

 

  • มีอาการปวดท้องจุกแน่นเรื้อรัง แสบร้อนบริเวณกลางท้องหรือท้องส่วนบน 

 

 

  • มีอาการปวดเป็นระยะ ในบางรายอาจจะมีอาการหลังจากหลับแล้ว

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • เรอเหม็นเปรี้ยว

 

ถ้าผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน

 

  • ตาเหลือง

 

 

ไข้สูงเรื้อรังตลอดเวลา

 

 

  • มีไข้สูงเรื้อรังตลอดเวลา

 

  • จากมีอาการแค่ปวดท้องแบบแสบ ๆ กลายเป็นปวดเกร็ง ปวดบีบ และปวดแบบรุนแรงขึ้น 

 

  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ในระยะ 1 - 2 เดือน 

 

  • เกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีเลือดออกภายในกระเพาะอาหาร

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร

 

  • อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นสีดำ หน้ามืด

 

  • เมื่อมีอาการปวดท้องส่วนบนอย่างรุนแรงแบบเฉียบพลัน หน้าท้องแข็ง และเมื่อกดจะรู้สึกเจ็บมาก อาจเป็นสัญญาณของกระเพาะอาหารทะลุ

 

  • กระเพาะอาหารอุดตัน โดยมักมีอาการ เช่น น้ำหนักลดลง อาเจียน เบื่ออาหาร และอิ่มเร็ว เป็นต้น 

 

  • โดยปกติแล้ว โรคกระเพาะอาหารทั่วไปมักจะไม่ส่งผลถึงขั้นทำให้มีเลือดออกในกระเพาะ แต่จะพบมากในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง

 

 

โรคกระเพาะอาหารอันตรายแค่ไหน ?

 

นอกจากอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร หรือชื่อเต็ม เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) บริเวณเยื่อบุของกระเพาะอาหารซึ่งสามารถติดได้จากคนสู่คนด้วยการทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้ เป็นผลให้เยื่อบุกระเพาะเกิดอาการอักเสบจนกลายเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

 

 

การวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหาร 

 

  • การส่องกล้องทางเดินอาหาร เพื่อตรวจดูกระเพาะและหาแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร จากนั้นอาจมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจหาเชื้อ

 

  • บางกรณีแพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการทำอัลตราซาวด์ และการเอกซเรย์โดยคอมพิวเตอร์ ในผู้ป่วยที่เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน 

 

  • หากผู้ป่วยไม่สามารถทำการส่องกล้องได้ อาจใช้วิธีการตรวจเลือดกับBreath Test 

 

 

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

 

ส่วนหนึ่ง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค ร่วมกับการรักษาตามสาเหตุที่วินิจฉัยพบ ได้แก่

 

 

ไม่กินอาหารรสจัด

 

 

  • ปรับเปลี่ยนการทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ทานอาหารรสจัดหรือดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะเป็นการกระตุ้นให้ปวดท้อง

 

  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หากมีสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร ผู้ป่วยจะได้รับยาลดกรด กับยาปฏิชีวนะ

 

  • หากการปรับพฤติกรรมไม่ดีขึ้น อาจต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมเช่น การส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อรักษาตามสาเหตุ เป็นต้น 

 

  • หากมีแผล สำไส้ทะลุ อุดตัน และมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร อาจใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษากระเพาะอาหาร 

 

 

โรคกระเพาะ มีวิธีการป้องกันอย่างไร ?

 

  • รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และให้หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด เปรี้ยวจัด และอาหารมัน

 

  • หลีกเลี่ยงหรืองดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน หรือยาแก้โรคกระดูกและข้อทุกชนิด

 

  • หากมีอาการจุกแน่นหลังรับประทานอาหาร ให้ปรับลดการรับประทานอาหาร โดยให้รับประทานน้อยลง แต่รับประทานให้บ่อยมื้อขึ้น และในแต่ละมื้อไม่ควรอิ่มมากจนเกินไป

 

 

กิจกรรมผ่อนคลาย

 

 

  • หากมีความเครียด ควรหากิจกรรมอื่นทำเพื่อผ่อนคลาย

 

  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ 

 

  • หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ถ่ายเป็นสีดำ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ กลืนลำบาก เป็นต้น ควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน 

 

 

โรคกระเพาะอาหาร อาจจะไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่ถ้าหากปล่อยเอาไว้จนเกิดการเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ ทางที่ดีหากมีอาการควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษา และรับคำแนะนำในการป้องกันตนเองต่อไป



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

 

อาการปวดท้องแต่ละแบบบ่งบอกอะไรบ้าง

 

แผลในกระเพาะอาหาร แม้หายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้