โรคไส้เลื่อน เป็นโรคที่สามารถพบได้มากในผู้ชาย แล้วเราเคยสงสัยกันไหม ว่าเพียงแค่การไม่สวมกางเกงในอาจทำให้เกิดโรคนี้ได้จริงหรือ ? แล้วไส้เลื่อนเกิดบริเวณไหนของร่างกายได้บ้าง และโรคนี้มีวิธีการรักษากับการป้องกัน รวมถึงอันตรายอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมกัน
คือ โรคที่เกิดจากบริเวณลำไส้ มีการเคลื่อนตัวออกจากจุดเดิมจนกลายเป็นก้อน โดยมีสาเหตุมาจากผนังช่องท้องที่มีความอ่อนแอ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น
ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ
ไส้เลื่อนเนื่องจากการผ่าตัด
ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ
ไส้เลื่อนบริเวณหน้าท้องเหนือสะดือ
ไส้เลื่อนบริเวณกะบังลม
ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน
ซึ่งประเภทของไส้เลื่อนที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีสาเหตุการเกิดแบบเดียวกัน ผู้ป่วยมักมีอาการรู้สึกได้ถึงก้อนที่ตุงอยู่ และมีอาการปวดเวลาต้องก้มตัวหรือยกของ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแน่นท้องร่วมด้วย ในกรณีที่รุนแรง อาจมีอาการปวดเฉียบพลัน ท้องผูก อาเจียน โดยก้อนตุงมีลักษณะแข็งที่เกิดจากเลือดไม่ไหลเวียน ในกรณีนี้ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษา เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้ตายได้
โดยปกติจะเกิดจากผนังช่องท้องและกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ไม่แข็งแรง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากผลกระทบของอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัดได้ ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ด้วย เช่น
การยกของหนักจนเกิดอาการเกร็ง
อายุที่เพิ่มมากขึ้น
เกิดแรงดันภายในช่องท้อง เช่น ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
มีปัญหาด้านการขับถ่าย
มีอาการไอหรือจามอย่างรุนแรงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น วัณโรค
เกิดจากน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือผู้ที่เคยเป็นไส้เลื่อนมาก่อน เป็นต้น
เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคนี้ มักมาจากกิจกรรมของผู้ชายเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าหากผู้ชายไม่ใส่กางเกงใน จะทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิด โดยไส้เลื่อนที่มักพบในผู้ชายคือ ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ นอกจากนี้หลายคนยังอาจไม่รู้ด้วยว่าผู้หญิงเองสามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน หากมีกิจกรรม หรือพฤติกรรมที่เข้าข่ายเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุของการเกิดโรคตามที่ได้กล่าวไปจากหัวข้อข้างต้น
การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรค เช่น หากเป็นไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัดหรือไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยการตรวจร่างกาย โดยผู้ป่วยจะมีก้อนนูนที่สามารถคลำได้เฉพาะตอนยืน ไอ จาม และยกของ ถ้าหากเป็นไส้เลื่อนชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือมีการคลำจากภายนอกไม่พบ แพทย์อาจพิจารณาวิธีการตรวจอื่น เช่น หากผู้ป่วยเป็นไส้เลื่อนกะบังลม อาจใช้วิธีการส่องกล้องผ่านลำคอไปยังหลอดกับกระเพาะอาหาร เพื่อให้เห็นอวัยวะภายใน หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นไส้เลื่อนบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน อาจจะใช้วิธีการตรวจอัลตราซาวด์ เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ และ MRI
สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัด โดยผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการและวางแผนผ่าตัดตามอาการของโรค
การผ่าตัดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
การผ่าตัดแบบเปิด ถือเป็นการผ่าตัดตามแบบมาตรฐาน
การผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งวิธีนี้จะมีแผลผ่าตัดที่เล็กกว่าแบบแรก ใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่นาน ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และผู้ป่วยอาจมีการเสียเลือดน้อยลง แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องจะมีรายจ่ายที่สูงกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
โรคไส้เลื่อนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ ด้วยการคอยรักษาแรงดันในช่องท้องให้เป็นปกติหรือพยายามลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเกร็งหน้าท้อง ได้แก่
พยายามควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐาน
รับประทานประเภทไฟเบอร์ที่มีส่วนช่วยในระบบขับถ่าย
ไม่ยกของหนัก แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยกอย่างถูกวิธี
งดการสูบบุหรี่
ควรเข้ารับการรักษาโรคที่ส่งผลให้มีอาการไอหรือจามหนัก ๆ และรีบเข้าพบแพทย์หากพบว่ามีอาการผิดปกติหรือสุ่มเสี่ยงว่าจะเป็นโรคไส้เลื่อน
โรคไส้เลื่อน สามารถเกิดได้ทั้งเพศชายและหญิง โดยวิธีการรักษาโรคนี้สามารถทำได้เพียงวิธีเดียว คือ การผ่าตัด ดังนั้นหากไม่ต้องการเป็นโรคร้ายนี้ เราต้องคอยดูแลสุขภาพของตนเอง โดยการพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อช่องท้องของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งถือเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด หากสงสัยหรือพบว่ามีอาการเข้าข่าย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง