ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทโรซีน และไอโอโดไทโรนินออกมามากจนเกินไป ระบบเผาผลาญจึงทำงานผิดปกติ โรคนี้สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในหลายระบบในร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก หากรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต รวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน
การอักเสบของต่อมไทรอยด์ เมื่อฮอร์โมนจากไทรอยด์ผลิตมากจนเกิดการรั่วไหลในกระแสโลหิต ปกติแล้วมักจะไม่มีอาการเจ็บปวดใด นอกจากแบบกึ่งเฉียบพลัน
มีก้อนที่บริเวณต่อมไทรอยด์ จะพบมากในผู้สูงอายุ เป็นก้อนเนื้อที่เจริญเติบโตบนต่อมไทรอยด์ โดยก้อนนี้มักเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์มีการทำงานหนัก
โรคเกรฟส์ (Graves' Disease) เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่หลั่งฮอร์โมนไทโรซีนออกมามากผิดปกติ มักจะเกิดกับสตรีในช่วงวัยรุ่น ถึงวัยกลางคน และผู้สูบบุหรี่
การได้รับยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน เช่น ยาอะมิโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ
รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไป
คอพอก, มีก้อนที่บริเวณคอ
ท้องเสีย, น้ำหนักลดลง
อารมณ์แปรปรวน, มือสั่น, หงุดหงิดง่าย
ใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็วไม่เป็นจังหวะ
ตาโปน, เห็นภาพซ้อน
เหงื่อออกง่าย, ร้อนบ่อย
กล้ามเนื้ออ่อนแรง, มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
มีปัญหาภาวะกระดูกเปราะบาง เพราะร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป จนทำให้การดูดซึมแคลเซียมของกระดูกผิดปกติ ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมา
สายตา เช่น ตาแดง, แห้ง, แฉะ, ไวต่อแสง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเกรฟส์โดยมีสาเหตุมาจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะไทรอยด์ต่ำ เนื่องจากการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษเข้าขั้นวิกฤต สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ความเสียหายของต่อมไทรอยด์, การติดเชื้อ, การตั้งครรภ์ เป็นต้น โดยภาวะนี้นับว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วยควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
แพทย์จะซักประวัติและสอบถามอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย เพื่อหาสัญญาณของไทรอยด์เป็นพิษ
การตรวจเลือด
การเอกซเรย์, ตรวจอัลตราซาวด์, การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-SCAN)
ตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Scan)
วัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์และการทำงานของต่อมใต้สมอง
ตรวจระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์
รับประทานยาต้านไทรอยด์ เช่น ยาเมไทมาโซล, ยาโพรพิลไทโอยูราซิล เป็นต้น
รับประทานสารไอโอดีนรังสี โดยวิธีการรักษาด้วยนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
ใช้ยาต้านเบต้า เพื่อบรรเทาอาการใจสั่นหรือลดอัตราการเต้นของหัวใจ
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy) ในกรณีสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยยา หรือไอโอดีนรังสีได้ เช่น ผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ อีกทั้งหลังผ่าตัดจะต้องรับประทานยาควบคุมระดับฮอร์โมนไปตลอดชีวิต
สังเกตความผิดปกติของร่างกาย
ไม่สูบบุหรี่
หากมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
หากผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ จำเป็นจะต้องมีการติดตามผลในระยะยาวด้วยวิธีการตรวจเลือด เพื่อป้องกันการเกิดไทรอยด์เป็นพิษซ้ำอีก
เมนูที่ผู้ป่วยควรรับประทาน
เมนูธาตุเหล็ก เช่น ซีเรียล, ลูกเกด, ถั่วขาวหรือดำ และดาร์กช็อกโกแลต เป็นต้น
เมนูที่มีไอโอดีนต่ำ เช่น ไข่ดาว, สมุนไพร, ผักและผลไม้, เนื้อไก่, เนื้อวัว
เมนูที่มีซิลีเนียม เช่น ผักปวยเล้ง, แฮม, ทูน่า, คอตเทจชีส
เมนูที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เช่น นม, ชีส, โยเกิร์ต, ไอศกรีม, น้ำส้ม เป็นต้น
เมนูผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี, กะหล่ำดาว, บรอกโคลี,คะน้า, ผักใบเขียว
เมนูที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง
อาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา, กาแฟ, น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง
อาหารที่มีกลูเตน เช่น ข้าวบาร์เลย์, ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์ เป็นต้น
อาหารทะเล เพราะไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับไอโอดีนรังสี
ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่หยุดรับประทานยาโดยพลการ เพราะมีโอกาสสูงมากที่จะไม่หายขาดแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้ อีกทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยเฉพาะระบบหัวใจที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย บุคคลทั่วไปสามารถตรวจต่อมไทรอยด์เบื้องต้นได้ เพียงสังเกตและใช้นิ้วสัมผัสบริเวณลำคอ หากมีก้อนและอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที ห้ามปล่อยทิ้งให้หายเองตามธรรมชาติเด็ดขาด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์