รวมเรื่องสงสัยโรคไส้เลื่อน
รวมเรื่องสงสัยโรคไส้เลื่อน

ก้อนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของลำไส้ หรือก้อนเนื้อที่ไหลออกมาสู่ภายนอก เป็นนิยามของโรคที่มีชื่อว่า "โรคไส้เลื่อน" โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และเกิดขึ้นกับอวัยวะได้หลายจุด โดยส่วนมากมักเกิดจากความอ่อนแอของผนังหน้าท้องซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหลาย ๆ อย่างที่เราอาจมองข้ามไป โรคนี้จึงเป็นโรคที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ

 

ไส้เลื่อนคืออะไรมาจากไหน

 

ไส้เลื่อน (Hernia) คือการที่อวัยวะภายในตรงจุดของเนื้อเยื่อ หรือผนังกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มและรองรับอวัยวะภายในเกิดความอ่อนแอ เคลื่อนตัวออกมาเป็นก้อน หรือเปิดออกมา ส่งผลให้อวัยวะที่อยู่ภายในอาจหลุด หรือโผล่ออกมาได้ในที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรง เกิดจากอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัดได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้การยกของหนักบ่อย ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งหนึ่งปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน

 

ผู้หญิงเป็นไส้เลื่อนได้หรือไม่

 

โรคไส้เลื่อนไม่ได้เป็นโรคที่เกิดขึ้นแต่กับเฉพาะคนสูงวัย หรือเกิดกับเพศชายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดกับเด็กได้ด้วย เช่น ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ และสามารถเกิดขึ้นในผู้หญิงได้เช่นกัน แต่ความเสี่ยงในการเกิดกับเพศหญิงนั้นจะน้อยกว่าเพศชาย โดยไส้เลื่อนในผู้หญิงที่ค่อนข้างจำเพาะ คือ ไส้เลื่อนในช่องเชิงกราน และไส้เลื่อนบริเวณใต้โคนขาหนีบ

 

ผู้หญิงเป็นไส้เลื่อน

 

ไส้เลื่อนเกิดตรงบริเวณไหนได้บ้าง

 

  • ไส้เลื่อนในช่องเชิงกราน เกิดจากลำไส้มีการเคลื่อนตัวเข้ารูในกระดูกเชิงกราน พบมากในเพศหญิง
  • ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ เกิดจากลำไส้เคลื่อนตัวมารวมอยู่ที่ท้อง จนเกิดเป็นก้อนตุงที่สามารถสังเกตได้
  • ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ เกิดจากผนังช่องท้องที่มีความผิดปกติ ส่งผลให้ไส้เลื่อนออกมาอยู่บริเวณโคนขาหนีบ
  • ไส้เลื่อนต่ำกว่าขาหนีบ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่มาก มักมีอาการปวดบริเวณขาหนีบ และต้นขาร่วมด้วย
  • ไส้เลื่อนบริเวณหน้าท้องเหนือสะดือ เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณเหนือสะดือไม่แข็งแรง มักพบมากในเพศชาย
  • ไส้เลื่อนข้างกล้ามเนื้อหน้าท้อง เกิดจากกล้ามเนื้อข้างกล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรงจนเลื่อนมาอยู่ด้านข้างท้อง มักพบในวัยกลางคน
  • ไส้เลื่อนที่เกิดจากการผ่าตัด ในกรณีนี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง จึงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องเกิดความอ่อนแอจนเคลื่อนตัวได้

 

หากไม่ผ่าตัดจะรักษาไส้เลื่อนอย่างไร

 

โรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทานยา หากก้อนเนื้อมีลักษณะตุงแล้ว จะมีแนวโน้มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ การผ่าตัดจึงเป็นทางเลือกเดียวสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาโรคไส้เลื่อน ซึ่งหากปล่อยเอาไว้จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมาภายหลังได้ เช่น ลำไส้เน่า ลำไส้อุดตัน เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยในการผ่าตัดต่อไป

 

ความอันตรายของไส้เลื่อนนั้นมีมากกว่าที่เราคิด การรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการผ่าตัดในยุคสมัยใหม่ได้มีการพัฒนาไปมาก จึงสามารถพักฟื้นได้ไว เจ็บน้อย และแผลที่เกิดจากการผ่าตัดยังเล็กอีกด้วย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

 

---------------------

พูดคุยกับเรา :   LINE คลิก