โรคลายม์ หรือ lyme disease เป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Borrelia Burgdorferi เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์สู่คน พบการแพร่ระบาดในสถานที่ที่มีภูมิศาสตร์เย็น สหรัฐอเมริกา ยุโรป แคนาดา และเอเชียตอนเหนือ ซึ่งกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคลายม์ เช่น การทำสวน เดินป่า ตั้งแคมป์ การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Borrelia จากเห็บชนิด Deer Tick หรือ Blacklegged เพราะผู้ป่วยไม่ทันได้สังเกตว่าโดนเห็บกัดและดูดเลือดเป็นระยะเวลา 24-48 ชั่วโมงแล้ว ส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางผิวหนัง การแสดงอาการของโรคลายม์ จะรุนแรงขึ้นในช่วงระยะเวลา 1-2 สัปดาห์หลังจากถูกเห็บกัด
มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มองเห็นไม่ชัดเจน ภาพเบลอ
เกิดผื่นที่มีลักษณะเป็นวงกลมสีแดงบริเวณที่เห็บกัด ซึ่งจะเป็นลักษณะพิเศษของโรคนี้
รู้สึกล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อาการที่เกี่ยวกับทางระบบประสาท เช่น อาการชาตามร่างกาย หรือปากเบี้ยว
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีไข้
ข้ออักเสบเรื้อรัง
โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ปัญหาเกี่ยวกับสมอง เช่น ส่วนของความจำ และการควบคุมอารมณ์การวินิจฉัยโรคลายม์
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและเช็คประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย จากนั้นจะทำการตรวจเลือดเพื่อหาค่าแอนติบอดีที่มีต่อเชื้อแบคทีเรีย โดยการใช้วิธี Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (Elisa) หลังจากนั้นแพทย์อาจจะใช้วิธี Western Blot Test เพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง โดยผลเลือดที่น่าเชื่อถือมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์หลังจากโดนเห็บกัด
รักษาโดยการฉีดยา
แพทย์อาจจะใช้วิธีการฉีดยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือดดำ โดยอาจจะต้องฉีดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 14-28 วัน
รักษาโดยให้ยาชนิดรับประทาน
แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อ และรักษาอาการตามที่แสดงออกมาขึ้นอยู่กับระยะของโรค
อาจจะใช้ยาเซฟูรอกซิม และอะม็อกซีซิลลินสำหรับเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรรับประทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 14-21 วัน
ยาด็อกซีไซคลินสำหรับเด็กที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่สามารถทานได้
สวมเสื้อผ้าที่มีแขนและขายาว โดยต้องคลุมผิวหนัง เพื่อป้องกันเห็บเกาะบริเวณผิวหนังโดยตรง
สายตั้งแคมป์ หรือเดินป่า ถ้ากลับมาถึงที่พัก ควรสำรวจเสื้อผ้าและร่างกายของตนเอง ว่ามีเห็บหรือสิ่งแปลกปลอมเกาะมาหรือเปล่า ถ้ามีควรใช้แหนบดึงออก โดยจับที่บริเวณหัวหรือปากของเห็บ แล้วดึงขึ้นในแนวตรง
ใช้ยากันยุงที่มีส่วนผสมของ Deet (N,N-Diethyl-m-toluamide DEET) ซึ่งสามารถช่วยป้องกันเห็บได้
หมั่นสังเกต และดูแลความสะอาดสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันเห็บที่เกาะอยู่บนตัวร่วงหล่นลงมา แล้วแพร่เชื้อสู่คน
กำจัดเศษซากใบไม้แห้ง สนามหญ้า ที่อาจจะเป็นแหล่งชุกชุมของเห็บและแมลงชนิดอื่น ๆ
ท่านใดที่เป็นสายเดินป่า ตั้งแคมป์ หรือรักในการผจญภัย และสัตว์เลี้ยง ควรระมัดระวังและป้องกันตนเอง สวมเสื้อผ้าที่สามารถป้องกันได้ทุกส่วนของร่างกาย ถ้ากลับมาถึงบ้าน เช็ครอบ ๆ ร่างกายให้ดี ถ้าผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรสังเกตพฤติกรรม และเช็คร่างกายของสัตว์เลี้ยง ว่ามีเห็บหรือหมัดเกาะอยู่หรือเปล่า ถ้ามีควรหาวิธีการกำจัดออกจากสัตว์เลี้ยงโดยด่วน ท่านใดที่ประสบพบเจอกับบาดแผลที่คล้ายคลึง ขึ้นอยู่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตนเอง แล้วไม่มั่นใจว่าใช่โรคลายม์หรือไม่ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คทันที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง