การนอนหลับ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ร่างกายจะได้พักผ่อน และปล่อยวางจากเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญมาทั้งวัน และสิ่งที่เคียงคู่กับการนอนหลับนั่นก็คือ “ความฝัน” หากฝันดีก็จะทำให้ยามตื่นนอนกลายเป็นเช้าที่แสนสดใส แต่ถ้าหากฝันร้ายอาจจะทำให้หลับต่อได้ยากขึ้น และยังสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ฝันร้ายยังสามารถบอกถึงปัญหาสุขภาพจิตของเราอีกได้ด้วย
ฝันร้าย (nightmare) เป็นภาวะที่หลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ในเชิงลบ ซึ่งเกิดในภาวะการนอนหลับในระยะ REM (rapid eye movement) เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อสมองส่วนทาลามัส และซีรีบรัมที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของใบหน้า การหลั่งน้ำลาย การหายใจหยุดการทำงานลง โดยฝันร้ายมักจะมีภาพลักษณ์ที่ซับซ้อน และเป็นเรื่องยาว ผลจากการฝันร้ายจะทำให้เกิดภาวะความกลัวอย่างรุนแรง หรือมีความวิตกกังวล สมาคมจิตแพทย์อเมริกาได้ให้คำจำกัดความและกำหนดการวินิจฉัยว่า ฝันร้ายมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก 10 ขวบขึ้นไป แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ หรือทางสังคมมากนัก แต่หากฝันร้ายเกิดขึ้นบ่อย ๆ กับวัยผู้ใหญ่จะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
ฝันร้าย อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ ดังนี้
ความฝันอาจจะบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ และหากปล่อยเอาไว้อาจจะรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากพบว่าตนเองมีปัญหาการนอนหลับควรปรับพฤติกรรม และเข้าพบแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง