ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) เป็นภาวะอันตรายสังเกตได้จากการนอนกรนเกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนต้นที่แคบลง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจะเสี่ยงโรคทางหัวใจ และโรคอื่น ๆ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต สามารถวินิจฉัยได้ผ่านการทำ Sleep Test เพื่อวัดความรุนแรงของอาการเป็นข้อมูลสำหรับทำการรักษาต่อไป
เกิดจากอวัยวะในระบบหายใจเกิดความผิดปกติ เช่น จมูก ช่องคอ ผนังคอหอย เป็นต้น ทำให้บริเวณดังกล่าวแคบลง เมื่อหายใจจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนกลายเป็นเสียงกรนตอนนอนหลับซึ่งเป็นสัญญาณหลักของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากระบบหายใจที่แคบจะทำให้ร่างกายพยายามหายใจให้แรงขึ้น การกระทำดังกล่าวจะยิ่งทำให้ทางเดินหายใจแคบลงทำให้ไม่สามารถหายใจเข้า-ออกได้ชั่วขณะหนึ่ง อาการนี้เองที่เรียกว่า “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ”
สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัยแต่ส่วนมากจะพบในเพศชายอายุประมาณ 30 ปี และจะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นตามอายุ โดยจะมีความเสี่ยงร่วมกันในทุกเพศทุกวัย ดังนี้
สำหรับเพศหญิงจะมีความเสี่ยงมากขึ้นในวัยหมดประจำเดือน และในเด็กมักพบจากสาเหตุของอาการต่อมทอนซิล และอดีนอยด์โต หรืออักเสบเรื้อรัง
นอกจากนี้ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับยังพบอาการอื่น ๆ ด้วย เช่น สมรรถภาพทางเพศลดลง หรือเกิดโรคต่าง ๆ ทั้งความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ
จะอ่านผ่านค่าดัชนี Apnea Hypopnea Index หรือ AHI ผ่านการคำนวณค่าความถี่ของการหยุดหายใจขณะหลับ (Apnea) และการหายใจแผ่วเพราะอากาศผ่านทางเดินหายใจได้น้อยลง (Hypopnea) เพื่อบอกความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับในตอนหลับจริง
สามารถทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงสูงสุดถึงขั้นเสียชีวิตตามมาได้หากไม่ได้รับการรักษา เช่น โรคด้านหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ความอ่อนเพลียในตอนกลางวันผลกระทบจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจส่งผลให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ระหว่างขับรถ
เริ่มจากการซักถามประวัติและอาการนอนกรนควรมีผู้ที่สังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่ในขั้นตอนการซักประวัติด้วย ซึ่งการตรวจวินิจฉัยจะมีขั้นตอนต่อไปนี้
ภาวะนี้มีขั้นตอนและวิธีการรักษาหลายรูปแบบทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับระดับอาการ และความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับแต่ละรายด้วย ดังนี้
การเลือกหมอนเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวอยู่ด้วยการเลือกหมอนที่สามารถประคองศีรษะและคอได้ สามารถปรับระดับความหนาแน่นเฉพาะจุดได้ หรือใช้หมอนเฉพาะทาง เช่น หมอน Continuous positive airway pressure (CPAP) จะมีหน้ากากเพื่อช่วยเสริมสร้างการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
การทำ Sleep Test เป็นการวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพสำหรับการประเมินภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หากรีบทำการรักษาความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ จะน้อยลงตามไปด้วย