พนักงานออฟฟิศ โดยส่วนมากล้วนมีพฤติกรรมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การนั่งหลังค่อม นั่งทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สูงเกินไป จนส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย ซึ่งพฤติกรรมที่เราทำอยู่ทุกวัน อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และอาจเกิดโรคที่เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม ขึ้นได้
เกิดจากอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เพราะเป็นการทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ, ยืนหลังค่อม, ไหล่ห่อ, ก้มคอมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ, ระบบนัยน์ตา, ระบบการย่อยอาหาร และการมองเห็นได้อีกด้วย
สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมกับโครงสร้างร่างกายของผู้ทำงาน เช่น โต๊ะ, เก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป เป็นต้น
สภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ความเครียดจากการทำงาน, การพักผ่อนไม่เพียงพอ, การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยได้ด้วย
การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการก้มดูสมาร์ตโฟนในการทำงานเป็นระยะเวลานาน
พฤติกรรมท่าทางของแต่ละบุคคล เช่น การนั่งไขว่ห้าง, การนั่งและยืนหลังค่อม, คอยื่น เป็นต้น
ทำงานที่ต้องใช้แรงเป็นประจำ เช่น การยกของหนัก, การแบกสิ่งของหรือวัสดุ, การสะพายกระเป๋าหนัก เป็นต้น
ปวด เมื่อยล้า ตึงบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอ, สะบัก, บ่า, ไหล่ หรือหลัง
มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง, ไมเกรน, หูอื้อ
ปวดตา, ตาแห้งและพร่ามัว
นอนไม่หลับ, พักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากความเครียด
ปวดตึงที่ขาและมีอาการเหน็บชา
มีอาการปวดข้อมือ, มือชา, นิ้วล็อก
ปวดตึงสะโพก
พนักงานออฟฟิศ
ผู้ที่ประกอบอาชีพใช้แรงงาน
นักกีฬา
แม่บ้าน
นักศึกษา
ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เช่น อาชีพฟรีแลนซ์ เป็นต้น
เอ็นข้อมืออักเสบ
นิ้วล็อก
พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเครียด อาจส่งผลให้เกิดไมเกรนและปวดศีรษะเรื้อรังได้
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคอ้วน
ต้อหิน หรือตาพร่ามัว
การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัดในการรักษาต่อไป
การทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และยังเป็นการประเมินโครงสร้างร่างกาย หรือช่วยปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว
การนวดแผนไทย
ออกกำลังกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ, การออกกำลังกายแบบเสริมสร้างกล้ามเนื้อ หรือการออกกำลังกายแบบยืดเหยียด เป็นต้น
ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา หรือปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย เป็นต้น
พักการใช้งานกล้ามเนื้อ เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง
เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน โดยยึดหลัก “10-20-60” คือ การพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที, การลุกออกไปเดินเล่นหรือเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อทำงานครบ 20 นาที, เมื่อครบ 60 นาที ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและแขน โดยการบริหารต้นคอ สะบัก ไหล่ แขน มือ เอว หลัง และขา
หากมีอาการปวดมากผิดปกติ หรือปวดเรื้อรัง ควรเข้าพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้น และรับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน และไม่ควรปล่อยปละละเลยหากเกิดสัญญาณเตือนของอาการ การดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ หากมีชาวออฟฟิศท่านใดที่มีอาการปวดตามอวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติเกิดขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เอ็นข้อมืออักเสบ ระวังไว้โรคใกล้ตัว
นิ้วล็อก หนึ่งในโรคยอดฮิตของเหล่ามนุษย์ออฟฟิศ
พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือคืออะไร