โดยปกติแล้ว มนุษย์เราจะหายใจประมาณ 14-20 ครั้ง/นาที อากาศที่หายใจเข้าไป เราจะแน่ใจได้หรือไม่ ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา เพราะปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างมากในร่างกายของมนุษย์ และยังเป็นอวัยวะที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคมากที่สุด โดยโรคในปอดที่พบได้บ่อยคงหนีไม่พ้น โรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม
โรคปอดอักเสบ (Pneumonitis) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ปอดบวม เป็นโรคของการอักเสบในเนื้อปอด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ มักพบในเด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีความต้านทานต่ำ
อยู่ที่ชนิดของเชื้อ และภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย อาจเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 1-3 วัน หรืออาจจะนานถึง 1-4 สัปดาห์ อาจเป็นไปได้
ปอดอักเสบสามารถเกิดได้ 2 สาเหตุ ดังนี้
ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
เกิดจากผู้ที่มีการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น สารเคมีที่ระเหยได้, ฝุ่น หรือควันที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น
ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ
เกิดจากการอักเสบของถุงลมปอด และเนื้อเยื่อโดยรอบ ได้แก่ เชื้อไวรัส, เชื้อราจากมูลสัตว์ และแบคทีเรีย ซึ่งจะแตกต่างกันไป ในแต่ละช่วงอายุ และสภาพแวดล้อมรอบตัว เป็นต้น
อาการของโรคปอดอักเสบจะคล้ายคลึงกับการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ แต่จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
มีอาการไอ, เสมหะ, มีไข้ และหนาวสั่น
ผู้ป่วยจะมีอาการหอบหายใจเร็ว และอาจได้ยินเสียงดังกรอบแกรบจากปอด
มีอาการเจ็บหน้าอกขณะหายใจ
ในเด็กเล็กกับผู้สูงอายุ อาจมีอาการซึม และมีอุณหภูมิร่างกายที่ผิดปกติ
ในเด็กเล็กอาจมีอาการไม่ดูดนม หรือน้ำ, ท้องอืด และอาเจียนได้
การรับเชื้อของโรคปอดอักเสบ มีอยู่หลายวิธี เช่น
เมื่อมีการไอ หรือจาม อาจมีการหายใจเอาเชื้อในรูปแบบละอองฝอยขนาดเล็ก ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ปอด
ผู้ป่วยอาจติดเชื้อจากอวัยวะอื่นมาก่อน จากนั้นจึงมีการแพร่กระจายเชื้อตามกระแสเลือด
มีการลุกลามของเชื้อที่บริเวณอวัยวะข้างเคียงปอด เช่น ฝีในตับมีการแตก และเข้าสู่เนื้อปอด เป็นต้น
ผู้ป่วยมีการสำลักเชื้อที่สะสมอยู่บริเวณทางเดินหายในส่วนบนลงสู่ปอด เช่น สารคัดหลั่ง, อาหาร หรือน้ำลาย กรณีนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุ
โดยโรคปอดอักเสบมักจะพบได้ในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีกับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และยังสามารถพบได้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ, หอบหืด, เบาหวาน หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ผู้ที่มีประวัติการสูบบุหรี่ หรือการดื่มสุราเรื้อรัง
ตรวจออกซิเจน เพื่อดูการทำงานของปอดในการลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด
ตรวจเม็ดเลือดขาว เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
ตรวจเพาะเชื้อจากเลือด และเสมหะ เพื่อหาชนิดของโรค
การรักษาอาการจำเพาะ
พิจารณาให้ยาขยายหลอดลมในกรณีที่ผู้ป่วยมีเสียงดังที่ปอด ให้ยาขับเสมหะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้น้ำ และอาหารอย่างเพียงพอ ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ แพทย์จะพิจารณาให้อาหารทางสายยาง เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร นอกจากนี้ยังมีการบำบัดทรวงอก เพื่อช่วยขับเอาเสมหะออกจากปอดได้ดีขึ้น
การรักษาทั่วไป
กรณีที่เกิดจากเชื้อไวรัส แพทย์จะรักษาแบบประคับประคอง โดยบำบัดทางระบบหายใจ เพราะไม่มียารักษา ส่วนในกรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ โดยจะเลือกใช้ยารักษาตามเชื้อที่ผู้ป่วยได้รับ
การป้องกันโรคปอดอักเสบที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เพราะเป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ โดยวัคซีนป้องกันปอดอักเสบจะมี 2 ชนิด คือ ชนิด 13 สายพันธุ์ และ 23 สายพันธุ์ ควรฉีดห่างกันอย่างน้อย 2 เดือนจะทำให้สามารถป้องกันเชื้อปอดอักเสบได้นานถึง 5 ปี
ดูแลสุขอนามัยสม่ำเสมอ เช่น การล้างมือเป็นประจำเมื่อมีการสัมผัสสิ่งของในที่สาธารณะ
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นวิธีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงแบบเบื้องต้นได้
งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา เพราะบุหรี่จะทำลายกระบวนการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่วนสุราอาจทำให้สำลักเชื้อโรคเข้าสู่ปอดได้
โรคปอดอักเสบเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจจึงมีความอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น เราจึงควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไว้ก่อน เพื่อให้ร่างกายห่างไกลจากโรคร้ายที่อาจพรากชีวิตคุณ และคนที่คุณรัก หากมีท่านใดที่สงสัย หรือมีอาการเข้าข่ายโรคปอดอักเสบ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และดำเนินการรักษาต่อไป
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ+วัคซีนไข้หวัดใหญ่