ป้องกันรากฟัน ด้วยการอุดฟัน
ป้องกันรากฟัน ด้วยการอุดฟัน

การอุดฟัน คือ การรักษาฟันที่ผิดรูป เช่น ฟันผุ ฟันแตก ฟันบิ่น ซึ่งถ้าปล่อยไว้โดยไม่ทำการอุดฟันจะทำให้รากฟัน และเหงือกเกิดการอักเสบ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียจะกลายเป็นกรดเข้าไปในโพรงที่ฟันผุกร่อน เกิดอาการปวดฟัน เหงือกเป็นหนอง จึงต้องทำการรักษารากฟันหรือถอนทิ้ง ฉะนั้นควรจะสังเกตฟันของตนเอง ว่ามีการผิดรูป หรือมีอาการเสียวฟันหรือไม่ ควรที่จะไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการอุดฟัน เป็นการป้องกันรากฟัน และเหงือกอักเสบ เพราะการรักษารากฟัน หรือเหงือกอักเสบ ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการอุดฟัน อีกทั้งประกันสังคมยังรองรับสิทธิ์ผู้ประกันตนในกรณีอุดฟัน

 

 

ทำไมต้องอุดฟัน

 

การอุดฟัน เป็นการทำให้ฟันที่ผุกร่อน ผิดรูป กลับมาเป็นฟันที่มีรูปร่างใช้งานได้ปกติ สามารถเคี้ยวอาหาร หรือเพื่อสร้างความสวยงามได้  การอุดฟันยังเป็นการป้องกันการอักเสบของรากฟัน และเหงือก เพราะแบคที่เรียไม่สามารถ เข้าไปถึงรากฟันได้ 

 

 

อุดฟันมีกี่แบบ

 

การอุดฟันจะแบ่งตามวัสดุ มี 5 แบบ

 

  • 1. การอุดฟันด้วยอมัลกัม (Amalgum) เป็นวัสดุที่เกิดจากการผสมของโลหะ ดีบุก ปรอท ทำให้สีฟันที่อุดเป็นสีโลหะ ส่วนใหญ่ใช้อุดฟันกราม เพราะมีความแข็ง ทนต่อการบดขยี้อาหาร

 

  • 2. การอุดฟันด้วยเรซินคอมโพสิต (Composite Resin) เป็นวัสดุจากเรซิน ทำให้สีเหมือนฟันปกติ มีความแข็งแรง สามารถอุดฟันได้ทั้งด้านหน้า และฟันกราม

 

  • 3. การอุดฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ (Glass Ionomer Cement)  วัสดุนี้มีคุณสมบัติของฟลูออไรด์ ที่สามารถป้องกันฟันผุได้ ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กเล็ก และผู้ที่ฟันผุ 

 

  • 4.การอุดฟันด้วยทอง อินเลย์ของทองไม่ทำให้เหงือกระคายเคือง ซึ่งมีราคาที่สูง

 

  • 5.การอุดฟันด้วยพอซแลน หรืออินเลย์  ทำในห้องปฏิบัติการก่อน แล้วนำมาเชื่อมต่อกับฟัน สีฟันคล้ายสีฟันธรรมชาติ สามารถครอบคลุมพื้นที่ฟันส่วนใหญ่ ป้องกันคราบที่เกิดขึ้นในช่องปากได้ แต่มีราคาที่สูง

 

 

วิธีการอุดฟัน

 

  • 1.ทันตแพทย์จะทำการตรวจฟันว่ามีฟันซี่ไหนมีการผุกร่อน ผิดปกติ และต้องทำการอุดฟัน

 

  • 2. ทันตแพทย์จะทำการกรอฟันผุที่มีเชื้อออก ในกรณีที่ฟันผุกร่อนจนถึงโพรงประสาท  ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อลดอาการปวด และเสียวฟัน

 

  • 3. ทันตแพทย์จะใส่วัสดุรองพื้น เพื่อลดอาการเสียวฟัน สำหรับฟันที่ผุลึกถึงเนื้อชั้นใน

 

  • 4. ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันโดยใช้วัสดุต่างๆ เช่น อมัลกัม เรซินคอมโพสิต หรือทอง เป็นต้น

 

 

อุดฟันนานไหม

 

การอุดฟันโดยทั่วไปจะใช้เวลา 30 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนซี่ฟันที่อุด ตำแหน่งฟันในช่องปาก และความลึกของการผุกร่อนของฟัน 

 

 

ก่อนอุดฟันเตรียมตัวอย่างไร 

 

  • 1. นัดหมายทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพเหงือก และฟัน แจ้งทันตแพทย์หากมีโรคประจำตัว และรับประทานยาอยู่

 

  • 2.ในกรณีผู้เข้ารับการอุดฟัน มีฟันปลอมที่ถอดได้ หรือรีเทนเนอร์ ให้นำติดตัวมาด้วย

 

  • 3.ทำความสะอาดช่องปากด้วยการบ้วนปาก และแปรงฟัน ให้เรียบร้อย

 

 

จัดฟันสามารถอุดฟันได้ไหม

 

ผู้ที่จัดฟัน หรือใส่รีเทนเนอร์ สามารถทำการอุดฟันได้ แต่ขึ้นอยู่กับบริเวณฟันที่จะอุด หากฟันที่จะอุดเป็นฟันที่ต้องกระทบกับฟันซี่ข้างๆ ทันตแพทย์จะถอดลวดก่อน ทำการอุดฟัน

 

 

อุดฟันเจ็บไหม

 

ในขั้นตอนของการกรอฟัน จะรู้สึกเสียวฟัน หากตำแหน่งของฟันที่ผุกร่อนใกล้โพรงประสาทฟัน  โดยทันตแพทย์จะประเมินคนไข้ และให้ยาชาป้องกันการปวด หรือเสียวฟัน

 

 

ปวดฟันที่อุด ควรทำอย่างไร

 

โดยปกติทั่วไปหลังจากการอุดฟัน จะมีอาการเสียวฟันอยู่ประมาณ1-2 สัปดาห์ หากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หรือในกรณีที่ปวดฟันซี่ที่อุด และเสียวฟันเกิน 1-2สัปดาห์ ควรที่จะมาพบทันตแพทย์เพื่อการรักษาต่อไป

 

 

ฟันที่อุดหลุด หรือแตก ควรทำอย่างไร

 

หากฟันที่อุด มีการหลุด หรือแตก ควรจะมาพบทันตแพทย์เพื่อรับการอุดใหม่ 

 

 

ปวดฟันตอนรับประทานอาหาร หลังอุดฟัน ควรทำอย่างไร

 

หากมีอาการปวดฟันที่อุด หลังการอุดฟัน ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ควรรับประทานอาหารที่ไม่มีความเหนียว และทานยาแก้ปวด หากอาการไม่ทุเลาลงควรพบทันตแพทย์ เพื่อการรักษาต่อไป

 

 

อุดฟัน

 

 

ฟันที่อุดอยู่ได้นานไหม

 

อายุการใช้งานของฟันที่อุดขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ เช่น อมัลกัม มีอายุการใช้งาน 10-15 ปี หรือทอง สามารถใช้ได้ถึง 20 ปี 

 

ทั้งนี้อายุการใช้งานฟันที่อุดขึ้นอยู่กับ การดูแลรักษาสุขภาพฟัน และช่องปาก หลังจากอุดฟัน การรับประทานอาหารที่ไม่แข็ง และเหนียวเกินไป หรือพฤติกรรมการนอนกัดฟัน เป็นต้น

 

 

อุดฟันกับประกันสังคม

 

การอุดฟันสามารถเบิกประกันสังคมได้ในวงเงินไม่เกิน 900 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  สิทธิประกันสังคมปี 2565 

 

หลังจากทำการอุดฟันแล้ว ควรจะต้องทำความสะอาดด้วยการแปรงฟัน หลังจากรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเหนียว และแข็งจนเกินไป จะทำให้ฟันที่อุดมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น สามารถป้องกัน รากฟัน และการเกิดปัญหาในช่องปากได้