โรคหัดเยอรมัน ป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน
โรคหัดเยอรมัน ป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน

โรคหัดเยอรมัน (Rubella) คือ โรคไข้ออกผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน อาการคล้ายโรคหัด แต่จะมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคหัด เว้นแต่ผู้หญิงตั้งครรภ์ในระยะแรก ที่เชื้ออาจจะแพร่เข้าสู่ทารกในครรภ์ ส่งผลให้ทารกพิการ และแท้งเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้หญิงตั้งครรภ์ และยังไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อป้องกันเด็กทารกจากโรคหัดเยอรมัน

 

 

สาเหตุของโรคหัดเยอรมัน

 

โรคหัดเยอรมันเกิดจากเชื้อรูเบลลาไวรัส (Rubella virus) อยู่ในตระกูลโทกาวิริดี (Togaviridae) เชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย จึงติดต่อได้จากการหายใจ และการสัมผัสกับผู้ป่วย เมื่อเชื้อหัดเยอรมันเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแล้ว เชื้อนี้จะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด และระบบน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต เชื้อจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง โดยมีระยะฟักตัว 12-24 วัน

 

 

อาการโรคหัดเยอรมัน

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • ตาแดง และตาอักเสบ

 

  • มีไข้ต่ำ

 

  • ต่อมน้ำเหลืองในร่างกายบวม

 

  • คัดจมูก

 

  • เบื่ออาหาร

 

  • คออักเสบ

 

  • ผื่นแดงเล็กๆ

 

  • บางกรณีเมื่อติดเชื้อหัดเยอรมันแล้ว จะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา

 

 

โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด (Congenital Rubella Syndrome)

 

หากมารดาติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงของการตั้งครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์มีโอกาสเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด (Congenital Rubella Syndrome) โดยเชื้อจะส่งผ่านผ่านทางกระแสเลือด และสารคัดหลั่ง รวมถึงน้ำนมหลังคลอด ทำให้เกิดการแท้ง หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ นอกจากนี้ทารกที่คลอดออกมาเกิดความพิการหรือความผิดปกติของร่างกาย เช่น ความบกพร่องทางสติปัญญา สมองไม่พัฒนา ทำให้มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไป  รวมทั้งหูหนวก ต้อกระจก และหัวใจตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น

 

 

การตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน

 

การตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน (rubella  antibodies) จากการตรวจน้ำลาย และการตรวจเลือด (Saliva & Blood Test) โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างน้ำลายภายในช่องปาก หรือตัวอย่างเลือดของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยตรวจหาสารภูมิต้านทานจำเพาะต่อโรคหัดเยอรมัน คือ สารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม (IgM Antibody) และชนิดจี (IgG Antibody)

 

 

ผลการตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน

 

  • หากตรวจไม่พบสารภูมิต้านทานชนิดจี (IgG Antibody) แสดงว่าอาจจะไม่เคยได้รับเชื้อไวรัส หรืออาจจะได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน แต่ไม่สามารถป้องกันเชื้อได้

 

  • หากตรวจพบสารภูมิต้านทานชนิดจี (IgG Antibody)  แต่ตรวจไม่พบตรวจพบสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม (IgM Antibody)  แสดงว่าเคยติดเชื้อไวรัส หรืออาจจะได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันมาก่อน

 

  • หากตรวจพบสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม (IgM Antibody) แต่ตรวจไม่พบ หรืออาจจะพบสารภูมิต้านทานชนิดจี (IgG Antibody)  แสดงว่าเกิดการติดเชื้อไวรัสขึ้นมาใหม่

 

  • หากตรวจไม่พบสารภูมิต้านทานใดๆ ในเลือดเลย แสดงว่ายังไม่เคยเกิดการติดเชื้อขึ้นและยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน

 

  • ในกรณีเด็กทารกแรกเกิด หากตรวจพบสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม (IgM Antibody) แสดงว่าได้รับเชื้อในขณะที่มารดาตั้งครรภ์

 

 

วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน

 

 

การรักษาโรคหัดเยอรมัน

 

  • โรคหัดเยอรมันไม่ออกอาการรุนแรง จึงไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอาการ แต่แพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยแยกตัวเอง ออกจากผู้อื่นในช่วงแพร่เชื้อ

 

  • หากผู้ป่วยเป็นผู้หญิงตั้งครรภ์ และไม่ต้องการยุติการตั้งครรภ์  แพทย์จะทำการฉีดซีรั่มอิมมูโนโกลบูลิน ให้แก่ผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการของโรคหัดเยอรมัน และลดความรุนแรงของโรคที่เกิดกับทารกได้

 

 

การป้องกันโรคหัดเยอรมัน

 

  • การฉีดวัคซีน MMR เข็มแรก ให้เด็กอายุ 9-12 เดือน และให้ฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี

 

  • ผู้หญิงที่ต้องการจะมีบุตร หากยังไม่เคยฉีดวัคซีน ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์ พร้อมกับคุมกำเนิดอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อป้องกันการติดเชื้อของเด็กทารกได้

 

  • ในช่วงที่มีการระบาดของโรคหัดเยอรมัน ไม่ควรเข้าไปในสถานที่แออัด และมีผู้ผู้คนเยอะ

 

  • ไม่ควรอยู่ใกล้ และใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยโรคหัดเยอรมัน แต่ถ้าหากจำเป็นต้องดูแล หรืออยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคหัดเยอรมัน ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยน้ำสะอาด กับสบู่อย่างสม่ำเสมอ

 

 

การฉีดวัคซีน MMR หรือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน รวมทั้งการตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน   มักจะอยู่ในโปรแกรมฝากครรภ์ และตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพราะเป็นการป้องกันโรคหัดเยอรมันแล้ว ยังเหมาะสำหรับผู้ที่วางแผนแต่งงาน สร้างครอบครัว และวางแผนการมีบุตรอีกด้วย

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมคลอด และฝากครรภ์

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ชาย-หญิง