ตากุ้งยิง (Stye) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Staphylococcus Aureus) ที่บริเวณเปลือกตา จนอักเสบเป็นตุ่มบวมแดงคล้ายสิว อาจทำให้รู้สึกเจ็บ คัน และระคายเคืองที่บริเวณเปลือกตา สามารถหายเองได้แม้ไม่ได้รับการรักษา แต่การดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ตากุ้งยิงหายเร็วขึ้นได้
การสัมผัสกับดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาด
การสวมใส่คอนแทคเลนส์โดยไม่รักษาความสะอาดอย่างเหมาะสม
การล้างเครื่องสำอางออกไม่หมด และล้างไม่สะอาด
ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น
ผู้ที่มีภาวะเปลือกตาอักเสบเรื้อรัง
เจ็บ, คัน หรือระคายเคืองบริเวณเปลือกตา
รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในดวงตา
มีตุ่มบวมแดง, เปลือกตาบวม, ตาแดง
อาจจะมีน้ำตาไหล หรือขี้ตาเพิ่มขึ้น
ในบางกรณี อาจมีฝีหรือหนองเกิดขึ้นภายใน 4-5 วัน
ตากุ้งยิงภายนอก (External Hordeolum) เกิดที่บริเวณภายนอกขอบเปลือกตา มีตุ่มบวมจนเกิดการอักเสบเป็นหัวหนอง มักเกิดขึ้นที่รูขุมขนของดวงตา
ตากุ้งยิงภายใน (Internal Hordeolum) เกิดขึ้นที่ด้านในของเปลือกตา ทำให้มีตุ่มบวมขึ้น เกิดจากต่อมไมโบเมียนติดเชื้อ หากต่อมนี้อุดตัน จะเกิดเป็นซีสต์ หรือถุงน้ำติดเชื้อได้
เมื่อเกิดตากุ้งยิงขึ้น อาจทำให้มีอาการป่วยอื่นตามมาได้ แต่มักจะไม่รุนแรง เช่น
ตากุ้งยิง สามารถหายเองได้ภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องรักษา
ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณดวงตาประมาณ 5-10 นาที จำนวน 3-4 ครั้ง/วัน จะช่วยให้เกิดการระบายหนองออกไปได้เร็วขึ้นและลดอาการบวมลง
หากมีอาการปวด และเปลือกตาบวมมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ และการเจาะระบายหนองออก
หลีกเลี่ยงการบีบหรือเจาะตุ่มหนองด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เชื้อแพร่กระจายและเกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงการขยี้ดวงตา เพื่อลดโอกาสในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ดวงตา
ล้างมือให้สะอาดก่อนจะจับบริเวณดวงตา
ล้างเครื่องสำอางออกจากหน้าให้สะอาด และไม่ควรแต่งหน้าทิ้งไว้เป็นเวลานาน
รักษาและทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อยู่เสมอ
หลีกเลี่ยงการถูกฝุ่น และควันต่าง ๆ โดยการใส่แว่นตา และหมวก
หากท่านสงสัยหรือมีอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นตากุ้งยิง ควรเข้าปรึกษากับจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย รักษา และคำแนะนำในการดูแลดวงตาที่เหมาะสม
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง