สิทธิประกันสังคมไม่ได้รองรับแค่เพียงผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น แต่ยังรองรับผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยแต่อาศัยอยู่ที่ประเทศไทย หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ”คนต่างด้าว” และด้วยสิทธิของคนต่างด้าวมีอยู่หลายประการที่ต้องทำความเข้าใจ เพราะมีความแตกต่างกับสิทธิประกันสังคมของคนทั่วไป ทางโรงพยาบาลเพชรเวชจึงได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ท่านได้ศึกษาเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมของคนต่างด้าวได้ในบทความนี้
ยื่นได้หลังจากเข้าทำงานโดยมีหลักฐานใบอนุญาตการทำงานภายใน 30 วัน
กรณีนายจ้างยังไม่ขึ้นทะเบียนสำนักงานประกันสังคมให้ทำการยื่น สปส.1-01 ไปก่อน
กรณีขึ้นทะเบียนแล้ว ให้ทำการแจ้งผู้ประกันตน สปส.1-03 พร้อมกับหนังสือเดินทาง และใบอนุญาตในการทำงาน โดยต้องไปยื่นในพื้นที่ที่ทำงานกับนายจ้างเท่านั้น
เมื่อยื่นแล้วนายจ้างต้องทำการจ่ายเงินประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนต่อไป ในรูปแบบ สปส.1-10
ท่านสามารถโหลดแบบฟอร์มของ สปส.1-01 สปส.1-03 และสปส.1-10 ได้ที่นี่
แรงงานต่างด้าวที่ต้องการจะขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
จะต้องเป็นแรงงานที่มีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)
จะต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ โดยมีหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of identity) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)
หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองไทยแต่ได้รับการผ่อนผันให้สามารถทำงานชั่วคราวได้ เมื่อเจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บจากการทำงานต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ประกันสังคมเพื่อดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน ซึ่งจะได้รับจำนวนเงินเท่ากับแรงงานไทย
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ชาวต่างด้าวไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม คือ ชาวต่างด้าวที่เป็นลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์ หาบเร่ และการค้าแผงลอย ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี หรือมีลักษณะการทำงานเป็นแบบครั้งคราว
กรณีคลอดบุตร
กรณีการสงเคราะห์บุตร
กรณีเจ็บป่วย หรือได้รับอันตรายจากการทำงาน
กรณีทุพพลภาพ
กรณีชราภาพ
กรณีว่างงาน
กรณีเสียชีวิต
บทความที่เกี่ยวข้อง