โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
สาระน่ารู้ เรื่อง "โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคิเมีย"

 

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือที่รู้จักกันในนามลูคีเมีย (Leukemia) คือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยโรคนี้จะมีจำนวนของเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้นแบบผิดปกติ จนไปทำลายระบบการสร้างเม็ดเลือดของไขกระดูก โดยโรคมะเร็งชนิดนี้มักเกิดขึ้นที่บริเวณไขกระดูก สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ

 

 

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดจากสาเหตุใด ?

 

  • พันธุกรรม เมื่อมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติการป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

 

  • โรค MDS ซึ่งมีผลต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดภายในไขกระดูก

 

  • ได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

 

  • เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว

 

  • เคยเผชิญกับรังสีบางชนิดในปริมาณมาก จากการใช้ชีวิตประจำวัน หรือจากการประกอบอาชีพ

 

 

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีอาการอย่างไร ? 

 

  • หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ 

 

  • ใจสั่น เหนื่อยง่าย

 

 

จุดเลือดตามร่างกาย

 

 

  • เลือดออกง่ายกว่าปกติ อาจพบรอยจ้ำหรือจุดเลือดตามร่างกาย 

 

  • ภาวะเลือดหยุดไหลยาก

 

  • ต่อมน้ำเหลืองโต

 

  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย

 

  • เหงือกบวมโต 

 

 

ชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

 

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 

 

เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดในไขกระดูกมีความผิดปกติ ส่งผลให้เซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว มีการแบ่งตัวออกอย่างรวดเร็ว โดยอาการของโรคมักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรง หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ ควรเข้ารับการรักษาทันที 

 

สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด เช่น

 

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยลิออยด์ ผู้ป่วยมักมีจำนวนเม็ดเลือดต่ำ ส่งผลให้เกิดอาการ เช่น โลหิตจาง, เกล็ดเลือดต่ำ, ติดเชื้อได้ง่าย เป็นต้น

 

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ มักเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ซึ่งจะแสดงอาการคล้ายกับชนิดมัยลิออยด์

 

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง 

 

เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวถูกผลิตมากจนเกินไป จะทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนของเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ ซึ่งอาการของโรคชนิดเรื้อรังนี้ จะดำเนินไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าหากปริมาณเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียกับโลหิตจางได้ หากมีการสะสมภายในม้าม อาจทำให้ม้ามโต, ท้องอืด หรือเจอก้อนภายในท้อง 

 

สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด

 

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดอีลอยด์ พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ เป็นเซลล์มะเร็งที่มีอัตราการเติบโตช้า

 

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมฟอยด์ พบได้ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีลักษณะเช่นเดียวกับชนิดอีลอยด์ คือมีอัตราการเติบโตที่ช้า โดยในระยะเริ่มต้นอาจไม่แสดงอาการใดออกมา 

 

 

การวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

 

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

 

 

MRI Scan

 

 

  • การตรวจภาพถ่ายรังสี เช่น MRI, X-ray, CT-Scan เป็นต้น

 

  • การเจาะไขกระดูก

 

  • การเจาะน้ำไขสันหลัง

 

 

วิธีรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

 

  • การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง คือ ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ที่ปกติ

 

  • เคมีบำบัด แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาในรูปแบบรับประทาน, ยาฉีด หรือใช้ทั้งสองอย่างควบคู่กัน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง

 

  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เป็นการนำเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกและเลือดของผู้ป่วย หรือญาติพี่น้องที่เซลล์เข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย

 

  • รังสีบำบัด เป็นการใช้ลำแสงพลังงานสูง หรือการใช้รังสีเอกซเรย์ ยิงทำลายและหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

 

  • ภูมิคุ้มกันบำบัด แพทย์จะฉีดสารเข้าร่างกายของผู้ป่วย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันรับรู้ว่าเซลล์มะเร็งผิดปกติ และทำลายเซลล์ดังกล่าวไป

 

 

การป้องกันโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 

 

  • รักษาความสะอาด, ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน

 

 

ทานอาหารที่มีประโยชน์

 

 

  • รับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย

 

  • ไม่ควรอยู่ในพื้นที่แออัด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจ

 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีหรือรังสี 

 

 

มะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะภายในร่างกายหลายส่วนแม้แต่เม็ดเลือดของเรา ซึ่งมะเร็งชนิดนี้มีความอันตรายเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากพันธุกรรม แต่เราสามารถลดความรุนแรงของอาการได้โดยการดูแลรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ภูมิคุ้มกันไม่ตก และไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โรคทางพันธุกรรม การถ่ายทอดที่ไม่มีใครอยากได้

 

โรคไขกระดูกบกพร่องอันตรายถึงชีวิต ป้องกันได้อย่างไร