หินปูนในเต้านม ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
หินปูนในเต้านม ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

หินปูนในเต้านม คือ หินปูนที่เกิดจากการสะสมเซลล์ที่ตายแล้ว จากการผลิตน้ำนมในบริเวณต่อมน้ำนม ซึ่งน้ำนมนั้นจะมีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ สามารถแบ่งหินปูนในเต้านมได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ หินปูนในเต้านมชนิดที่ไม่อันตราย และหินปูนในเต้านมที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ดังนั้นผู้หญิงที่ต้องการทราบว่าตนเองมีหินปูนในเต้านม จะต้องทำการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) เท่านั้น เพราะสามารถสังเกตอาการจากภายนอกด้วยตนเองได้

 

 

สาเหตุของหินปูนในเต้านม

           

  • ภาวะปกติตามธรรมชาติของผู้สูงอายุเพศหญิง ที่หินปูนมักจะเกาะอยู่ข้างในผนังหลอดเลือด

           

  • เกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเต้านมอย่างรุนแรง

           

  • สารคัดหลั่งอยู่ในท่อน้ำนม หรือต่อมน้ำนม

           

  • ความเสื่อมของเซลล์ในเนื้องอกบริเวณเต้านม

 

 

ลักษณะของหินปูนในเต้านมแต่ละชนิด

 

ลักษณะของหินปูนในเต้านมชนิดที่ไม่อันตราย

           

  • หินปูนขนาดใหญ่ เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ที่อยู่ภายในก้อนเนื้องอกชนิดหนึ่ง

           

  • หินปูนลักษณะกลม ขอบขาว เกิดจากการขาดเลือดของไขมันในเต้านม

           

  • หินปูนลักษณะกลม ใหญ่ เห็นขอบได้ชัด ซึ่งเป็นหินปูนที่เกาะที่อยู่ตามผิวหนัง

           

  • หินปูนที่มีลักษณะเป็นหลอด เกิดจากการคัดหลั่งในท่อน้ำนม

           

  • หินปูนที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด แคลเซียมที่เกิดจากการผลิตน้ำนมนั้น จะไปจับที่ผนังเส้นเลือดแดง พบได้ในผู้สูงอายุเพศหญิง และผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิต

 

ลักษณะของหินปูนในเต้านมที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

          

  •  หินปูนเม็ดเล็กๆ ฝอยๆ  ไม่เกิน 0.5 มิลลิเมตร เห็นขอบได้ชัด หรือไม่สามารถเห็นขอบได้ชัด จะมีลักษณะคล้ายผงแป้ง

           

  • หินปูนที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่สม่ำเสมอ และมีความเข้ม

           

  • หินปูนที่มีลักษณะเป็นขีดเส้นตรงเล็กสั้น มักจะอยู่ตามเยื่อบุผนังท่อน้ำนม เป็นระยะเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม

 

นอกจากนี้หินปูนในเต้านมที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมยังสามารถเกิดการกระจายตัวได้เป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่

           

  • เกิดการรวมกลุ่มกันของหินปูน โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางของกลุ่มหินปูนไม่เกิน 2 เซนติเมตร

           

  • เกิดการเรียงตัวกันของหินปูนในลักษณะเป็นเส้นตรงตามแนวท่อน้ำนม หรือแตกออกเป็นลักษณะกิ่งไม้ หากพบหินปูนชนิดนี้ แพทย์จะทำการเจาะชิ้นเนื้อเพื่อทำการวินิจฉัย

 

 

ข้อแตกต่างระหว่างหินปูน ซีสต์ และเนื้องอกในเต้านม

 

เนื้องอกในเต้านมนั้น สามารถคลำพบได้จากภายนอก มี 2 ชนิด คือเนื้องอกปกติ และเนื้องอกที่เป็นมะเร็งเต้านม

 

ซีสต์ หรือถุงน้ำในเต้านมนั้นสามารถคลำพบได้จากภายนอก ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ นอกจากจะมีขนาดใหญ่ ร่วมกับมีอาการเจ็บ จะต้องให้แพทย์ทำการเจาะน้ำในถุงออก เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

 

ทั้งสองอย่างนี้จะแตกต่างหินปูนในเต้านม ที่จะต้องเครื่องแมมโมแกรมในการตรวจเท่านั้น ไม่สามารถสังเกตอาการได้จากภายนอก

 

 

การวินิจฉัยหินปูนในเต้านม

 

การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram)

 

แพทย์จะสามารถเห็นลักษณะที่แตกต่างของเนื้อเยื่อแต่ล่ะชนิดของผู้ป่วย ได้แก่

           

  • เนื้อเยื่อเต้านม

           

  • หลอดเลือด

            

  • ไขมัน

           

  • หินปูน

           

  • ก้อนเนื้องอก

           

  • กลุ่มแคลเซียมที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำนม

 

ลักษณะดังกล่าวที่พบจากเครื่องแมมโมแกรมในข้างต้น รวมทั้งลักษณะของหินปูน และการกระจายตัวของหินปูน องค์ประกอบเหล่านี้แพทย์จะนำมาวินิจฉัยในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

 

การเจาะชิ้นเนื้อ

 

โดยใช้เครื่อง Stereotactic unit เป็นเครื่องมือทางรังสีวิทยา ใช้ทำการเจาะหินปูนที่เต้านมโดยเฉพาะ โดยขั้นตอนเจาะชิ้นเนื้อมีดังนี้

           

  • การถ่ายภาพทางรังสีวิทยาบริเวณเต้านม เพื่อหาตำแหน่งในการเกิดหินปูน

           

  • หาตำแหน่งในการเกิดหินปูนบริเวณเต้านม แพทย์จะทำการวางเข็มที่ผิวหนัง

           

  • แพทย์จะทำการเก็บชิ้นเนื้อที่มีหินปูน เพื่อทำการวินิจฉัยเกิดโรคมะเร็งเต้านม

 

 

หินปูนในเต้านม

 

 

หากตรวจพบหินปูนในเต้านม ควรทำอย่างไร

          

  •  หากเป็นหินปูนในเต้านมชนิดที่ไม่อันตราย ควรทำการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม ปีละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของหินปูนในเต้านม

          

  •  หากเป็นหินปูนในเต้านมที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ควรทำการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมทุกๆ 6เดือน และทำการเจาะชิ้นเนื้อ ด้วยเครื่อง Stereotactic unit เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมต่อไป

 

 

ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรมาทำการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องแมมโมแกรม รวมทั้งคุณผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยง หากตรวจพบหินปูนในเต้านมที่เป็นมะเร็งเต้านมในระยะแรกนั้น จะช่วยทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Ultrasound)