หัวใจโต (Cardiomegaly) คือ ภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่กว่าปกติมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น หากพบว่าคนในครอบครัวมีปัจจัยเสี่ยงควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยภาวะหัวใจโตเพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที โดยวิธีการวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด คือ การทำอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram)
ภาวะความผิดปกติของหัวใจนี้มีสาเหตุมาจากอาการเจ็บป่วย เป็นโรคที่ส่งผลกับหัวใจ หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยง เมื่อหัวใจเกิดความเสียหายหรือต้องทำงานหนักจะทำให้เกิดภาวะหัวใจโต ดังนี้
ปกติแล้วอาการของภาวะหัวใจโตในช่วงระยะแรกมักไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่เมื่อเกิดภาวะหัวใจโตแล้วส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจจะสามารถแสดงอาการที่เป็นจุดสังเกต ได้แก่
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมีอยู่หลายแบบล้วนแล้วแต่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หรือStroke เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเสียหายของหัวใจตามจุดต่าง ๆ รวมไปถึงสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจโตด้วย
แพทย์จะทำการซักถามประวัติและอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจ ประกอบกับการตรวจวินิจฉัยการทำงานของหัวใจเพื่อหาความผิดปกติที่สามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงภาวะหัวใจโต สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
หากพบว่ามีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจโตสามารถทำให้เพิ่มความเสี่ยงได้จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหากพบโรคดังกล่าวจะได้รักษาได้ทันก่อนเกิดภาวะหัวใจโตนอกจากนี้ยังสามารถปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเพื่อป้องกันภาวะร้ายนี้ ได้แก่
หากเราสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงโรคร้ายด้วยการดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอจะสามารถลดโอกาสเกิดภาวะหัวใจโตได้อย่างดีแน่นอน