โรคฟัน และโรคในช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ
โรคฟัน และโรคในช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ

ตามธรรมชาติของผู้สูงอายุ ที่ต้องประสบกับภาวะเสื่อมของร่างกาย อีกทั้งโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งสุขภาพฟันและช่องปาก ที่จะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคฟัน และโรคในช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะการเกิดฟันผุบริเวณผิวรากฟัน รวมทั้งโรคภายในช่องปาก เช่น ปากแห้ง น้ำลายน้อย และภาวะการกลืนลำบาก  เพราะหากเกิดการติดเชื้อ และลุกลามขึ้นมา สามารถเป็นอันตราย ถึงขั้นสูญเสียฟันไฟ รวมทั้งเชื้ออาจแพร่กระจายไปยังระบบอื่นๆในร่างกายได้ ดังนั้นผู้สูงอายุควรโรคฟัน และโรคในช่องปาก

 

 

โรคฟัน และโรคในช่องปากในผู้สูงอายุ

      

  • ฟันผุบริเวณผิวรากฟัน

           

  • รากฟันอักเสบ

      

  • จากภาวะสูญเสียฟัน หรือฟันหลอ

      

  • เหงือกอักเสบ

      

  • ปริทันต์อักเสบ

      

  • เป็นแผลบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก

      

  • มีแผลรอยแตกบริเวณมุมปาก

      

  • ภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย

      

  • ภาวะกลืนผิดปกติ

           

  • แผลในช่องปากจากการใช้ฟันปลอมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

           

 

สาเหตุของการเกิดโรคฟัน และโรคในช่องปากในผู้สูงอายุ

          

  • ความเสื่อมของฟันตามธรรมชาติสำหรับผู้สูงอายุ

      

  • การรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดคราบพลัคไปเกาะที่ฟัน และภายในช่องปาก เช่น อาหารประเภทแป้ง และอาหารที่มีรสชาติหวาน

           

  • การรับประทานยา เพื่อรักษาอาการป่วย หรือโรคประจำตัวบางชนิด สามารถทำให้ปากแห้งได้

      

  • ความเครียด

      

  • การสูบบุหรี่

      

  • การทำความสะอาดฟัน และช่องปาก โดยการแปรงฟันไม่สะอาดพอ จะมีเศษอาหารที่ติดค้าง เกิดปฏิกิริยากับเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก จนกลายเป็นกรดขึ้นในช่องปาก สามารถทำลายผิวฟัน หากรุนแรงจะทะลุเข้าสู่โพรงประสาท ส่งผลทำให้สูญเสียฟันได้

           

  • อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้งาน เช่น เคี้ยวอาหารที่แข็งจนเกินไป จนฟันผุ แตก บิ่น หรือการเคี้ยวแล้วฟันไปกัดกระพุ้งแก้ม หรือกัดลิ้น เป็นต้น

      

  • การใช้ฟันปลอมไม่ถูกสุขลักษณะ

 

 

โรคฟัน และโรคในช่องปากสำหรับผู้สูงอายุที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ

 

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคฟัน และโรคในช่องปากจะมีความสกปรก และเชื้อโรคมากขึ้น เมื่อรับประทานอาหาร เชื้อโรคก็เข้าสู่ร่างกาย เกิดการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะภายในต่างๆ เช่น ปอด ตับ และข้อกระดูก ทำให้เกิดการอักเสบ ของอวัยวะภายในเหล่านี้ ทำให้มีความสัมพันธ์ในการเกิดโรคต่างๆ  ได้แก่

      

  • โรคสมองเสื่อม มีความสัมพันธ์กับโรคปริทันต์อักเสบ และฟันผุ เกิดจากการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่สะอาดของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

      

  • โรคหัวใจ และหลอดเลือด

      

  • โรคเบาหวาน  มีความสัมพันธ์กับโรคปริทันต์อักเสบ และการควบคุมระดับน้ำตาล

      

  • โรคอ้วน

      

  • โรคทางระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากฟัน และช่องปากมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถทำการบดเคี้ยวอาหารได้ปกติ จึงเกิดการกลืนอาหารที่ไม่ละเอียด ระบบทางเดินอาหารทำงานหนักขึ้น

      

  • โรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคมะเร็งในผู้สูงอายุ ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสง ที่บริเวณศีรษะ และลำคอ มีความสัมพันธ์กับต่อมน้ำลาย ทำให้มีอาการปากแห้งได้

      

  • โรคกระดูกพรุน การใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุน มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะกระดูกขากรรไกรค้างได้

 

 

ผู้สูงอายุทำฟัน

 

 

การป้องกันโรคฟัน และโรคในช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ

      

  • ควรรับประทานอาหารที่มีกากใย เพราะนอกจากจะช่วยให้เกิดการกระตุ้นการเคี้ยวแล้ว ยังสามารถช่วยขัดสีทำความสะอาดฟันไปในตัวอีกด้วย

      

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสชาติหวานจัด

      

  • ใช้ไหมขัดฟันที่ถูกสุขลักษณะในการทำความสะอาดซอกฟันหลังรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ไม้จิ้มฟัน

      

  • ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยแปรงให้ฟลูออไรด์สัมผัสกับผิวฟันอย่างน้อยสองนาที วันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้า และก่อนนอน เพื่อกำจัดจุลินทรีย์ที่เกาะฟัน และในช่องปาก

      

  • หากมีอาการปากแห้ง และน้ำลายน้อย ควรจิบน้ำบ่อยๆ และมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยการใช้น้ำลายเทียมในกรณีที่มีอาการรุนแรง

 

 

ในความคิดของใครหลายคน คิดว่าผู้สูงอายุจะมีการสูญเสียฟันแท้เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ความจริงแล้วสามารถดูแลฟัน และรักษาช่องปากให้ปลอดจากเชื้อโรคให้สามารถใช้งานได้ในระยะเวลายาวนาน โดยการไม่ปล่อยปละละเลยการดูแลสุขภาพช่องปาก และฟัน หมั่นสังเกตความผิดปกติของฟัน และในช่องปากบ่อยๆ  หากมีความผิดปกติควรไปพบทันตแพทย์โดยทันที ทั้งนี้ครอบครัวท่านใดมีผู้สูงอายุมีความผิดปกติเช่น มีอาการปวด บวม เป็นหนอง ที่บริเวณฟัน และในช่องปาก ควรพาท่านไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจ และรักษา เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่จะตามมา

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

ปริทันต์อักเสบ โรคอันตรายที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก