ภาวะ DKA (Diabetic Ketoacidosis) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรคเบาหวาน เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ร่างกายสร้างคีโตน (Ketones) ออกมาในกระแสเลือดเป็นปริมาณมาก เลือดจึงมีสภาวะเป็นกรด จะเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เพราะสามารถเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
เมื่อร่างกายขาดอินซูลิน ทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลในเลือดมาเป็นพลังงานได้ จึงปล่อยฮอร์โมนในการเผาผลาญไขมันมาทดแทนน้ำตาล จึงทำให้เกิดการสร้างกรดคีโตน ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการสะสมกรดในเลือด สารเคมีในเลือดจึงเสียสมดุล และส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย
นอกจากร่างกายขาดอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว การติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด ปอดบวม หรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ จะมีการสร้างฮอร์โมนต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น อะดรีนาลีน หรือคอร์ติซอล ฮอร์โมนเหล่านี้อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะ DKA ได้
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงตีบเฉียบพลัน ที่ขาดสารอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม SGLT-2 inhibitor จะมีปัจจัยเสี่ยงให้เกิดภาวะ DKA ได้
พฤติกรรมบางอย่างเช่น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะโคเคน เป็นเสี่ยงที่กระตุ้นทำให้เกิดภาวะ DKA ได้ รวมทั้งการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ และยาขับปัสสาวะ หากผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีอาการ แน่นหน้าอก ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง ควรพบแพทย์โดยด่วน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง