ไม่สูบบุหรี่ แต่เป็นมะเร็งปอดได้ไง
ไม่สูบบุหรี่ แต่เป็นมะเร็งปอดได้ไง

วิทยาทางการแพทย์ในปัจจุบันได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถช่วยให้ผู้คนหายจากความเจ็บป่วย แต่ก็มีหลายกรณีนี้ที่ยังหาสาเหตุของการเกิดโรคไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา แต่เป็นมะเร็งปอด หรือผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย วิ่งจ๊อกกิ้ง อยู่เป็นประจำกลับประสบกับภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์มีการค้นคว้าทำการวิจัยกันมากขึ้น และพบว่าไม่ใช่แค่บุหรี่เท่านั้นที่ทำให้เกิดมะเร็ง

 

 

กรรมพันธุ์

 

มะเร็งปอดไม่ได้ถ่ายทอดพันธุกรรมผ่านทางสายเลือดโดยตรง แต่ถ้าบุคคลในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น บิดา มารดา พี่ น้อง หากคนใดคนหนึ่งเป็นมะเร็งปอด คนรอบข้างจะมีความเสี่ยงเป็นด้วย 2-3 เท่า โดยเฉพาะมะเร็งชนิด Adenocarcinoma ที่มักเกิดขึ้นกับสตรีในทวีปเอเชีย อายุ 40 ปีขึ้นไป

 

 

ฝุ่น PM 2.5

 

เป็นมลพิษอีกหนึ่งชนิดที่มีขนาดเล็ก แต่ก่อให้เกิดกระทบแก่ร่างกายเป็นอย่างมาก ฝุ่นชนิดนี้ในบางพื้นที่มีสารก่อมะเร็ง ผู้ที่ได้รับเข้าไปเป็นประจำจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด 1-1.4 เท่าของคนปกติ ผู้เชี่ยวชาญบางรายกล่าวว่าความรุนแรงของมันสามารถเทียบเท่าบุหรี่

 

 

สภาพแวดล้อมใกล้โรงงานอุตสาหกรรม

 

โรงงานอุตสาหกรรมมักจะปล่อยสารพิษต่างๆ สู่อากาศ และแหล่งน้ำ ทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษได้ เช่น

 

  • สารระเหยของน้ำมัน

 

  • ฝุ่นจากการทำงานของเครื่องจักรกล

 

  • สารหนู

 

  • กลิ่นของสารเคมี

 

  • สารอาร์เซนิก

 

  • ผู้พักอาศัยอยู่ใกล้โรงงาน หรือพนักงานจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดจากการสูดดมสารเหล่านี้

 

 

มลภาวะในชีวิตประจำวัน

 

แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในเขตชุมชนอุตสาหกรรม หรือผู้ที่อาศัยในแถบชนบทก็เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดได้ เช่น

 

  • การเผาป่า เพื่อหาหน่อไม้ รวมทั้งเกิดการไฟไหม้ป่าจากธรรมชาติ

 

  • สารเคมีในการทำเกษตรกรรม

 

  • แร่ใยหิน ซึ่งอยู่ในอุปกรณ์เครื่องใช้ประจำบ้าน ไม่ว่าจะเป็น  เครื่องปิ้งขนมปัง ไดร์เป่าผม กระติกน้ำร้อน และเตารีด

 

  • ควันจากรถ

 

  • จุดธูปทำพิธีทางศาสนา

 

 

ควันบุหรี่มือสอง (Second Hand Smoke)

 

ผู้ที่สูดดม ควันบุหรี่อยู่เป็นประจำ อาจมีความเสี่ยงมะเร็งปอดมากกว่าผู้สูบบุหรี่ เช่น

 

  • ผู้ที่ทำงาน หรือชอบเที่ยวในสถานบันเทิง

 

  • ภรรยาที่สามีสูบบุหรี่ในห้องนอน

 

  • ลูกที่ได้รับควันบุหรี่ของพ่อ

 

  • อยู่ในกลุ่มเพื่อนสูบบุหรี่

 

  • ร้านอาหาร หรือทำของกินโดยใช้เตาถ่าน

 

 

โรค หรือความผิดปกติบริเวณปอด

 

  • วัณโรค

 

  • ถุงลมโป่งพอง

 

  • ปอดบวม

 

  • ปอดอักเสบ

 

  • มีเนื้องอกที่ปอด

 

  • ปอดติดเชื้อ

 

 

มะเร็งปอด

 

 

ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด

 

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่

 

  • สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันฝุ่น ควัน และมลภาวะต่างๆ

 

  • หลีกเลี่ยงการสูดดมสารเคมีโดยตรง

 

  • เลือกที่อยู่อาศัยห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

นอกจากนี้การสูบกัญชา ยาเส้น ไปป์ ฝิ่น หรือสารเสพติดอื่นๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้แล้วเอาควันเข้าสู่ร่างกาย ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดมะเร็งปอดทั้งสิ้น ทั้งนี้อาการของโรคมักจะแสดงหลังจากระยะที่มีการลุกลามแล้ว แต่ถ้าหากตรวจสุขภาพเป็นประจำ เอกซเรย์ปอดอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง ถือเป็นทางเลือกในการป้องกันโรคเพราะถ้าหากตรวจพบเร็ว ทำการรักษาทัน จะสร้างความปลอดภัยแก่ร่างกายได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด