อีโบลา (Ebola) เคยเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ในแอฟริกาตะวันตกเมื่อหลายปีก่อน เป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง และอันตรายถึงชีวิต เพราะเป็นไวรัสที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนองค์การอนามัยโลกได้ประกาศยกระดับเหตุการณ์ให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้ออีโบลาในระดับต่ำมาก แต่เชื้อไวรัสมักแฝงตัวมากับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าออกประเทศ ดังนั้นเราจึงควรรู้จักโรคนี้และเรียนรู้วิธีป้องกัน หรือรับมือกับโรคนี้เอาไว้
อีโบลาถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ที่ประเทศซาอีร์ หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในปัจจุบัน ชื่อเดิมของอีโบลาคือ โรคไข้เลือดออกอีโบลา เนื่องจากมีการค้นพบเชื้อไวรัสในแม่น้ำอีโบลา โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลาซึ่งเป็นตระกูล Filoviridae (EVD) มักพบในเขตป่าร้อนชื้น โดยเชื่อว่าเชื้อนี้มีแหล่งพาหะจากค้างคาว และลิงติดต่อมาสู่คน
เมื่อ Ebola virus เข้าสู่ร่างกายจะสามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์เป้าหมาย โดยเฉพาะในเซลล์ตับ เซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการตามพยาธิสภาพที่ไวรัสทำลายเซลล์นั้น โดยไวรัสจะเกาะติดกับเซลล์เป้าหมาย ก่อนที่จะเข้าสู่เซลล์ และแพร่กระจายเชื้อที่เชื่อมติดกับเนื้อเยื่อในอวัยวะอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสอีโบลาจึงจะมีอาการ ดังนี้
การระบาดของไวรัสอีโบลาพบ 5 สายพันธุ์ ได้แก่
โรคนี้ยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะ แต่จำเป็นต้องมีการคัดแยกผู้ป่วยไปตามอาการ และแพทย์จะรักษาตามอาการ ดังนี้
แม้โรคอีโบลาจะถูกพบในอดีต และในปัจจุบันจะไม่พบเชื้อนี้ในประเทศไทย แต่การรักษาสุขอนามัย และรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในทุกยุคทุกสมัยเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่มาในรูปแบบของโรคร้ายนั่นเอง