ถุงลมโป่งพอง ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงเป็นได้
ถุงลมโป่งพอง ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงเป็นได้

ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คือ ภาวะหายใจลำบาก ที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เพราะพื้นที่ผิวในปอดลดลง หรือมีอากาศค้างในปอดมาก จากการขยายตัวของถุงลมที่แตก หรืออักเสบ คนส่วนใหญ่มักจะยังไม่ทราบว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงเป็นได้ ซึ่งการสูดดมสารพิษจากสภาพแวดล้อมที่เป็นมลภาวะ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ ควันรถ หรืออาหาร ทั้งงหมดนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ทั้งสิ้น

 

 

สาเหตุถุงลมโป่งพอง

 

  • การสูบบุหรี่

 

  • ผู้ที่สูดดมควันจากการเผาไหม้

 

  • ฝุ่นละอองจากสารเคมีในโรงงาน

 

  • การขาดอัลฟ่า-1 (Alpha-1-Antitrypsin Deficiency Emphysema) ซึ่งมาจากกรรมพันธุ์

 

 

อาการถุงลมโป่งพอง

 

  • ไอเรื้อรัง

 

  • หายใจไม่อิ่ม มีเสียงวี๊ด

 

  • เบื่ออาหาร

 

  • น้ำหนักลด

 

  • เล็บ และริมฝีปากมีสีเข้มขึ้น

 

  • หอบ

 

  • เหนื่อยง่าย

 

  • หัวใจเต้นเร็ว

 

 

โรคเรื้อรัง

 

 

การวินิจฉัยถุงลมโป่งพอง

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยถึงอาการ ระยะเวลาในการเกิดโรค รวมทั้งสอบถามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หลังจากนั้นก็จะใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด ได้แก่

 

การเป่าเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer)

 

  • เพื่อตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด จากการวัดปริมาตรอากาศที่เข้าออกในปอด

 

การตรวจโลหิต

 

  • เพื่อดูปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximetry)

 

การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan

 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)

 

  • ตรวจการทำงานของหัวใจ และตรวจหาโรคหัวใจ เนื่องจากอวัยวะ ระบบการทำงาน และอาการของโรคใกล้เคียงกัน

 

 

การรักษาถุงลมโป่งพอง

 

การรักษาด้วยยา

 

ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators)

 

  • มี 2 ชนิด คือ Beta Agonists และ Anticholinergics ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น

 

ยาปฏิชีวนะ

 

  • สำหรับต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย และอื่นๆ

 

สเตียรอยด์

 

  • ลดการอักเสบ มีทั้งแบบรับประทาน พ่น หรือให้ทางหลอดเลือด

 

Phosphodiesterase-4 Inhibitor

 

  • ต้านการอักเสบ ความรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

 

การผ่าตัด

 

  • นำชิ้นส่วนของปอดที่ได้รับความเสียหายออก หรือทำการปลูกถ่ายปอด

 

การบำบัด

 

  • ออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลาง เช่น เดินเร็ว เล่นโยคะ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

 

  • หากผู้ป่วยผอมลงมาก ควรเพิ่มน้ำหนักตามหลักโภชนาการ

 

 

Emphysema

 

 

การป้องกันถุงลมโป่งพอง

 

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

 

  • ไม่อยู่ในแวดล้อมที่มีควันทุกชนิด รวมทั้งฝุ่นละออง น้ำหอมกลิ่นฉุน

 

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

 

  • สวมใส่หน้ากากอนามัยหากออกไปข้างนอก

 

  • งดการสัมผัสผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ

 

  • ตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

 

ถุงลมโป่งพอง และประกันสังคม

 

โรคนี้เป็นหนึ่งใน 26 โรคเรื้อรังที่สำนักประกันสังคมจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล และค่าบริการทางการแพทย์ให้ทั้งผู้ป่วยใน และนอก อีกทั้งโรงพยาบาลเพชรเวชได้เตรียมพร้อมรับผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคม ในปี 2566 ที่กำลังจะถึง รวมทั้งเครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ

 

 

ถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่รักษาได้ไม่หายขาด ทำได้เพียงบรรเทาอาการ และชะลอระยะเวลาการถูกทำลายของปอดให้ช้าลงที่สุด ซึ่งข้อมูลขององค์การอนามัยโรคระบุว่า มีผู้ป่วยโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 80 ล้านคน และเสียชีวิตถึงปีละ 3 ล้านราย ผู้ที่อยู่ทำงานในห้องครัว ตามท้องถนนที่ได้รับควันบ่อยๆ ควรระมัดระวัง