การยศาสตร์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความเสี่ยงสุขภาพ
การยศาสตร์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความเสี่ยงสุขภาพ

การยศาสตร์ (Ergonomics) คือ วิทยาการทำงาน โดยใช้วิทยาศาสตร์เชื่อมโยงสัมพันธ์กับเนื้องาน บุคลากร สภาพแวดล้อม เพื่อออกแบบลักษณะของการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพหรืออันตรายจากอุบัติเหตุ หากนำหลักการนี้มาใช้ย่อมส่งผลดีต่อภาพรวมทั้งหมดขององค์กรทั้งนายจ้าง พนักงาน ผู้ประกอบกิจการ เพราะนักวิชาการ ผู้วิจัย ตระหนักถึงสุขภาพอนามัยที่ดีของทุกฝ่าย

 

 

การยศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

 

ปัญหาสุขภาพที่มาจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นสิ่งที่พนักงานหลายคนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสายผลิตที่ลักษณะเนื้องานจะต้องทำแบบเดิมซ้ำ ๆ จำเจ เป็นระยะเวลานาน จึงมีความเสี่ยงมากกว่าสายงานอื่น ซึ่งมันส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน เกิดการขาด ลา งานบ่อย ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่งสูงขึ้น รวมทั้งรายได้ที่ลดลงจากการสูญเสียความสามารถของบุคลากร

 

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงาน ในรูปแบบเครื่องจักรกล ต่าง ๆ จึงต้องทำให้มนุษย์ปรับตัวเข้ากับเครื่องมือเหล่านี้ เพื่อความสะดวกสบาย ลดขั้นตอนการดำเนินงาน เพิ่มยอดขายหรือผลผลิต ดังนั้นจึงต้องใช้หลักการยศาสตร์ลดความเสียหายจากอันตรายที่เกิดกับบุคลากร โดยใช้ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ ดังนี้

 

  • ความชำนาญ

 

  • ความเหมาะสม

 

  • เพศ

 

  • ตำแหน่งหรือพื้นที่

 

  • ลักษณะการเคลื่อนไหว

 

  • ระยะเวลา

 

  • สภาพแวดล้อม

 

 

บาดเจ็บ

 

 

การยศาสตร์มีอะไรบ้าง

 

กายวิภาคศาสตร์

 

  • ศึกษาขนาด รูปร่าง อิริยาบถท่าทาง ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ

 

  • ชีวกลศาสตร์ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการใช้แรงขณะทำงาน

 

สรีรวิทยา

 

  • ศึกษาการใช้พลังงานที่ไม่สมดุลกัน เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย

 

  • สภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลภาวะ เช่น แสงไฟ อากาศ เสียง

 

จิตวิทยา

 

  • ใช้ความชำนาญ วิเคราะห์ภาพรวมของเนื้องาน และตัดสินใจก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่ก่อความเสียหายต่อองค์กร

 

 

วิเคราะห์

 

 

ประโยชน์ของการยศาสตร์

 

ลดต้นทุน

 

  • ค่าใช้จ่ายทางการรักษาพยาบาล ค่าชดเชย ค่าแรง เป็นต้น

 

เพิ่มผลผลิต

 

  • เมื่อมีการปรับปรุงในสายการผลิตผู้ปฏิบัติงานมีท่าทางที่ดี ออกแรงหรือเคลื่อนไหวน้อย ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงาน

 

ปรับปรุงคุณภาพ

 

  • หากพนักงานเจ็บป่วย สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจได้เช่นกัน ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง

 

เพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากร

 

  • องค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพของพนักงาน จะไม่เกิดความร่วมมือ เกิดการขาดงาน ลาออกมากขึ้น

 

สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

 

  • การส่งเสริมความปลอดภัยสุขภาพของพนักงานจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงาน ภาพรวมในทิศทางที่ดีขึ้น

 

 

วางแผน

 

 

การออกแบบตามหลักการยศาสตร์

 

ออกแบบเบื้องต้น

 

  • ทำความเข้าใจระบบและผลิตภัณฑ์

 

  • นำมาวิเคราะห์จาก 2 ปัจจัยนี้

 

  • ตัดสินใจเลือกใช้บุคลากร เครื่องมือ ในการผลิตสินค้าออกจำหน่าย

 

รายละเอียด

 

  • จากการวิเคราะห์สามารถสร้างรายละเอียด ระบบการทำงานหรือรูปแบบของผลิตภัณฑ์

 

การทดสอบ

 

  • นำบุคลากรทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีเครื่องมือจักรกลเป็นระบบตามที่วางไว้หรือไม่ สามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามยอดที่คาดการณ์ไว้มากน้อยเพียงใด หลังจากนั้นจึงนำมาแก้ไขคิดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

 

 

 มนุษย์เรานั้นมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ความรู้และความสามารถ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะพบเห็นคนทำงานแล้วจะมีความเจ็บป่วย เมื่อยล้า หมดกำลังใจ เมื่อนำหลักการยศาสตร์นำมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่แค่สุขภาพ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพของพนักงาน หรือยอดขาย การลดค่าใช้จ่าย แต่มันรวมถึงการวางแผนพัฒนาองค์กรในอนาคต

 

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ขอใบเสนอราคาสำหรับองค์กรหรือบริษัท อีเมล : marketing@petcharavej.com หรือสอบถามช่องทาง Line : @petcharavej คลิก



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566