ไข้ชัก โรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
ไข้ชัก โรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน

โรคไข้ชัก  (Febrile Convulsion) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ภาวะน้ำตาลในโลหิตต่ำ หรือความสมดุลเกลือแร่ที่ผิดปกติ สามารถพบผู้ป่วยภาวะนี้ได้ในวัยเด็ก อายุประมาณ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุ 1-2 ปี ที่ผู้ปกครองควรระมัดระวัง หากอาการเป็นไข้ 38.5 องศาขึ้นไป รวมทั้งมีการชักเกร็ง และกระตุก ควรรีบไปพบแพทย์ในทันทันที

 

 

สาเหตุในการเกิดโรคไข้ชัก

 

โดยธรรมชาติแล้ว สมองของเด็กยังไม่เจริญเต็มที่ จึงเสี่ยงเป็นโรคไข้ชักจากปัจจัยต่างๆ  ได้แก่

      

  • กรรมพันธุ์ มีบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคไข้ชัก เช่น บิดา มารดา และพี่-น้อง ที่เกิดจากพ่อ แม่ เดียวกัน

      

  • มีอาการไข้ขึ้นสูงมาก จากการติดเชื้อไวรัสบริเวณอวัยวะทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โพรจมูก และลำคอ

 

นอกจากนี้ไข้ชักยังเกิดมาจากโรคอื่นๆ ได้อีก เช่น

      

  • โรคส่าไข้ หรือหัดกุหลาบ

      

  • ติดเชื้อในสมอง

      

  • ติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง

      

 

อาการโรคไข้ชัก

      

  • เป็นไข้สูง

      

  • ไอ เจ็บคอ

      

  • อาเจียน

      

  • ท้องเสีย

      

  • ชักเกร็ง หรือชักกระตุก

      

  • ตาเหลือก

      

  • น้ำลายฟูมปาก

      

  • กัดฟันแน่น

 

  • หากมีอาการชักนานเกินกว่า 3-5 นาที ใบหน้า ปาก แขน และขา จะมีอาการเขียวช้ำ จากการขาดออกซิเจน

 

 

การวินิจฉัย โรคไข้ชัก

      

  • การเจาะไขสันหลัง เพื่อตรวจดูการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง

      

  • การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อดูว่าสมองของผู้ป่วยว่ามีการถูกทำลายหรือไม่

 

 

การรักษาไข้ชัก

 

การปฐมพยาบาลเด็กที่เป็นไข้ชัก

      

  • ปลดเสื้อผ้าผู้ป่วยออกให้พอหลวม

      

  • ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง เพื่อป้องกันอาการสำลัก และไม่ใช้หมอน

      

  • ห้ามใส่วัตถุ หรือยาเข้าไปในปากของผู้ป่วย  

      

  • เช็ดตัวผู้ป่วยด้วยน้ำอุ่น ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด

      

  • รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล หรือโทรศัพท์เรียกรถฉุกเฉิน

 

การใช้ยา

      

  • ยากันชัก (Diazepam) ซึ่งต้องได้รับจากแพทย์เพียงเท่านั้น

 

 

ไข้ชัก

 

 

การป้องกันโรคไข้ชัก

      

  • หากมีอาการเป็นไข้ ควรเช็ดตัวบ่อยๆ

      

  • รับประทานยาพาราเซตามอล ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อเป็นไข้

      

  • ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้อย่างสม่ำเสมอ

      

  • รับประทานยากันชัก (Diazepam) ตามคำแนะนำของแพทย์

 

 

เด็กที่ป่วยเป็นโรคไข้ชักแล้ว ประมาณ 1 ใน 3 สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ และโรคนี้ไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใดกับการพัฒนาการสมอง หรือความแข็งแรงต่อสุขภาพร่างกาย นอกจากผู้ป่วยที่มีอาการชักเกิน 30 นาทีขึ้นไป อาจจะมีผลต่อสมอง