ฟอร์มาลีน สารพิษร้ายภายใต้ความอร่อยจากเนื้อสัตว์
ฟอร์มาลีน สารพิษร้ายภายใต้ความอร่อยจากเนื้อสัตว์

ฟอร์มาลีน (Formalin) คือ สารพิษที่ใช้ทำกันในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก  ยาฆ่าเชื้อรา เรามักจะได้ยิน และคุ้นเคยกันในชื่อว่า น้ำยาฉีดศพ แต่มีผู้ประกอบการบางรายนำไปใช้กับอาหารทะเล เนื้อสัตว์ในร้านหมูกระทะ ปิ้งย่าง ชาบูจิ้มจุ่ม ผักต่างๆ เช่น กระหล่ำปลี ผักกาดขาว ถั่วงอก เห็ด เพื่อให้ยังคงมีความสดใหม่ อยู่ได้นาน เน่าเสียยาก ผลกระทบร้ายแรงภายใต้ความอร่อยนี้จึงตกไปอยู่ที่ผู้บริโภค

 

 

ส่วนประกอบของฟอร์มาลีน

 

สารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มอัลดีไฮด์ มีสูตรทางเคมี คือ CH2O หรือ HCHO  ในความดันปกติจะมีสถานะเป็นก๊าซ ฟอร์มาลดีไฮด์ 37% เมื่อรวมตัวกับอากาศ ออกซิเจน จะเกิดการระเบิดขึ้นได้ มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค ก๊าซนี้สามารถเกิดตามธรรมชาติในอาหาร และถูกย่อยสลายโดยแสงอาทิตย์ และความชื้น แต่ถ้านำมาผสมกับเมทานอล 10-15 % จะเป็นการยับยั้งโพลิเมอร์พาราฟอร์มัลดีไฮด์ มีพิษสูงเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ลักษณะของมัน ได้แก่

 

  • สีใส

 

  • กลิ่นฉุน

 

  • ติดไฟได้

 

 

อันตรายจากฟอร์มาลีน

 

อาการแพ้เมื่อรับประทานเข้าไป

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • ระคายเคืองตา และระบบทางเดินหายใจ

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • ปาก และคอจะแห้ง หรือแสบร้อน

 

  • หัวใจเต้นเร็ว

 

  • แน่นหน้าอก

 

  • เหงื่อออก ตัวเย็น

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • ปวดท้อง

 

  • ท้องร่วง

 

  • ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะเป็นเลือด

 

  • หมดสติ

 

  • ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว

 

  • เสียชีวิต

 

 

Stomach Ache

 

 

วิธีแก้พิษฟอร์มาลีน

 

  • ทำให้สารพิษเจือจาง โดยการดื่มน้ำชา หรือนม เพราะเครื่องดื่มนี้จะเคลือบกระเพาะ และป้องกันอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร

 

  • นำส่งโรงพยาบาล  เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออก

 

 

การทดสอบสารฟอร์มาลีนในอาหาร

 

ชุดทดสอบฟอร์มาลินใช้หลักการทำปฏิกิริยาระหว่างฟอร์มาลินกับสารละลายพาราโรซานิลีน สามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ที่มีสีม่วง ได้ด้วยตาเปล่า และสามารถวิเคราะห์เชิงปริมาณได้โดยการวัดค่าการดูดกลืนแสง ความยาวคลื่น 580 นาโนเมตรด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการทั่วไป ความเข้มของสีเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของฟอร์มาลิน มีข้อดีดังนี้

 

  • ใช้งานสะดวก

 

  • ราคาถูก

 

  • สามารถตรวจวัดได้เอง

 

 

Formalin

 

 

การป้องกันฟอร์มาลีนในอาหาร

 

  • ดมกลิ่นอาหารทะเล เนื้อสัตว์ และผัก หากมีกลิ่นฉุนให้สันนิษฐานว่ามีฟอร์มาลินอยู่

 

  • นำเนื้อสัตว์ มาตากแสงแดด หรือลม เป็นเวลานานๆ แล้วยังสดอยู่ ก็ควรหลีกเลี่ยง

 

  • ไม่รับประทานอาหารทะเล ที่เนื้อเปื่อย ยุ่ย ไม่เท่ากันในชิ้นเดียว

 

  • ล้างวัตถุดิบอาหารให้สะอาด แช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจาง

 

  • ปรุงอาหารทุกกรรมวิธีแบบสุก

 

  • หากรับประทานหมูกระทะ ชาบู จิ้มจุ่ม ควรซื้อวัตถุดิบมาทำเอง

 

 

นอกจากนี้การได้รับฟอร์มาลีนจากการสูดดม และการสัมผัสก็ยังก่อให้เกิดพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด เกิดผื่นคัน ผิวหนังไหม้ และระยะยาวจะเกิดผลกระทบจากการแปรรูปเป็นกรดฟอร์มิค มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ของระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกาย อีกทั้งกฎหมายมีบทลงโทษผู้ที่ใช้สารนี้กับอาหาร โดยจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ