เหงื่อออกมือ สาเหตุที่ไม่ใช่แค่อากาศร้อน
เหงื่อออกมือ สาเหตุที่ไม่ใช่แค่อากาศร้อน

อากาศร้อนๆ แบบนี้ร่างกายจะมีเหงื่อออกตามร่างกายเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะการเกิดเหงื่อบริเวณมือนั้น สาเหตุอาจไม่ใช่แค่อากาศร้อน แต่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกความผิดปกติของร่างกายได้  อีกทั้งผู้ที่มีอาการเหงื่อออกมือ จะได้รับผลกระทบทางจิตใจ มีความกังวลในการเข้าสังคม เพราะกลัวกลิ่นเหงื่อที่ออกจากมือ จะไปสร้างความรบกวนแก่บุคคลรอบข้างได้ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีในการแก้ไข สำหรับผู้ที่มีอาการเหงื่อออกมือเพื่อให้มีความมั่นใจในการพบปะผู้คน พร้อมทั้งสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

 

 

เหงื่อออกมือเกิดจากสาเหตุใด

 

ภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ (Hyperhidrosis) เกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่

 

เกิดความผิดปกติในร่างกาย เช่น

      

  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ

      

  • โรคเบาหวาน

      

  • โรคหัวใจ

      

  • โรคเครียด

      

  • ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน

      

  • ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์

 

การทำงานผิดปกติของประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous system) ไม่สามารถควบคุมต่อมเหงื่อที่ออกตามบริเวณต่างๆ ของร่างกายได้ รวมทั้งโรคจากระบบประสาท เช่น

      

  • โรคพาร์กินสัน

      

  • โรคมะเร็งระบบประสาท

 

กรรมพันธุ์

 

  • ภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันกับพันธุกรรม 

 

การใช้ยา เช่น

 

  • Fluoxetine

 

  • Venlafaxine

 

  •  Doxepin

 

 

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ 

 

นอกจากเหงื่อจะออกมือมากผิดปกติจนมือเปียกแล้ว บริเวณขาหนีบ รักแร้ และเท้า ก็จะมีเหงื่อออกจนเปียกบนบริเวณดังกล่าว โดยที่อยู่ในแวดล้อมอุณหภูมิไม่สูงมาก และขณะเหงื่อออกก็ไม่ได้ออกกำลังกาย ควรสังเกตอาการดังนี้

      

  • มีเหงื่อออกมือมากผิดปกติ ทั้ง 2 ข้าง

      

  • มีเหงื่อออกมือมากผิดปกติ มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์

      

  • ได้รับผลกระทบในชีวิตประจำวัน

      

  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ

      

  • อายุน้อยกว่า 25 ปี

      

  • ในเวลานอนหลับจะไม่มีเหงื่อออกที่บริเวณมือ

 

 

การรักษาภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ 

 

การรับประทานยา (Anticholinergic Drug)

      

  • โดยการรับประทานยา Oxybutynin วันละ 5-10 มิลลิกรัม ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง และอาการท้องผูก

 

การใช้ยาทา (Antiperspirants)

      

  • โดยการใช้ยา Aluminum Chloride 20-30%  ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการเหงื่อออกมือน้อย ทำหน้าที่ลดการทำงานของต่อมเหงื่อที่มือ

 

การฉีดยาที่มือ (Botulinum Toxin)

      

  • ภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ  สามารถกลับมาเป็นซ้ำหลังจากฉีดยาแล้ว 6 เดือน

 

การผ่าตัด ( Thoracoscopic Sympathectomy)

      

  • แพทย์จะตัดเส้นประสาทบริเวณซี่โครงที่ 3-5 โดยการส่องกล้อง แต่อาจมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติบริเวณช่วงลำตัว

 

 

มือเปียก

 

 

อันตรายจากภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ

 

ภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ แม้จะไม่เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ ที่เกิดจากโรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคหัวใจ แล้วปล่อยให้อาการที่เกิดขึ้นโดยไม่ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ในลักษณะนี้เป็นอันตรายอย่างแน่นอน อีกทั้งภาวะเหงื่อออกมือผิดปกติจากระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานผิดปกติ ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ หรือมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้

 

 

ในปัจจุบันการรักษาภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติในระยะยาว และมีประสิทธิภาพ คือ การรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง  โดยไม่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจ แผลเล็ก และสามารถพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดเพียงแค่ 1 วัน เท่านั้น ทั้งนี้หากมีอาการเหงื่อออกมือมาก โดยที่ไม่ได้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันหนักๆ หรืออยู่ในที่ร้อนมากๆ ควรเข้ามาพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษาให้ถูกรูปแบบกับการใช้ชีวิต

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์