ลำไส้กลืนกัน ภาวะฉุกเฉินที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเด็ก
ลำไส้กลืนกัน ภาวะฉุกเฉินที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเด็ก

ลำไส้กลืนกัน (Intussusception) คือ ความผิดปกติที่มักจะเกิดขึ้นตรงบริเวณจุดเชื่อมต่อกันของลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ เมื่อลำไส้ส่วนต้นมุดเข้าสู่โพรงของลำไส้ส่วนที่อยู่ถัดไปทางด้านปลาย จึงทำให้ลำไส้อุดตัน ผู้ที่มีอายุ 3 เดือน ถึง 2 ปี มีความเสี่ยงมาก โดยโรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเด็ก ในวัยผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้ และถ้าหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอย่างทันท่วงที ลำไส้อาจแตก ทะลุ เน่าตาย หรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบ จนถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

 

 

สาเหตุลำไส้กลืนกันเกิดจากอะไร

 

วัยเด็ก

 

  • เกิดการติดเชื้อไวรัส

 

  • ภาวะลำไส้อักเสบ

 

  • เนื้องอกในลำไส้

 

วัยผู้ใหญ่

 

  • พังผืดในลำไส้

 

  • การติดเชื้อโรคต่างๆ

 

  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดลำไส้

 

 

ลำไส้กลืนกันมีอาการอย่างไร

 

วัยเด็ก

 

  • เป็นไข้

 

  • คลื่นไส้

 

  • อาเจียน

 

  • ปวดท้องเฉียบพลัน จนอาจเกิดตะคริวที่บริเวณหน้าท้องได้

 

  • มือเท้าเกร็ง

 

  • ท้องผูก หรือท้องร่วง

 

  • อุจจาระ มีเมือกเลือดสีเข้มปนออกมา

 

  • มักจะร้องไห้ และงอตัว โดยดันหัวเข่าขึ้นมาติดที่อก เพราะอาการปวดท้อง และเหนื่อยล้าจนง่วงซึม

 

วัยผู้ใหญ่

 

  • คลื่นไส้

 

  • อาเจียน

 

  • ปวดท้องเป็นพัก ๆ

 

  • มีอาการติดต่อกันนาน 2-3 สัปดาห์

 

 

การวินิจฉัยลำไส้กลืนกัน

 

ขั้นแรกหากเป็นผู้ป่วยวัยเด็กแพทย์จะซักประวัติ สอบถามอาการจากผู้ปกครอง หลังจากนั้นก็จะตรวจร่างกาย เช่น การสังเกต และคลำบริเวณหน้าท้องของผู้ป่วย หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมืออื่นๆ ได้แก่

 

การเอกซเรย์

 

  • เพื่อเป็นการตรวจดูลำไส้ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่

 

การอัลตราซาวด์

 

  • สามารถเห็นภาพความผิดปกติของลำไส้ โดยใช้คลื่นเสียง

 

การสวนแป้งแบเรียม 

 

  • โดยแพทย์จะทำการสอดท่อทางลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารทึบแสงแบเรียม เพื่อตรวจดูลำไส้ที่มีการอุดตัน

 

 

การรักษาลำไส้กลืนกัน

 

การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด

 

  • ใช้สารทึบแสงอย่างแป้งแบเรียม และลมเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ผ่านทวารหนัก เพื่อดันลำไส้ส่วนที่ถูกกลืนออกมา จากลำไส้ที่กลืนกันอยู่

 

การผ่าตัด

 

  • เป็นการผ่าตัดเข้าไปดันลำไส้ที่กลืนกันให้คลายหลุดจากกัน หากไม่สามารถดันลำไส้ให้คลายออกจากกันได้ หรือตรวจพบความเสียหายของลำไส้ แพทย์จะตัดลำไส้บริเวณนั้นออก สามารถทำได้แบบเปิดช่องท้อง และส่องกล้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของโรค

 

 

ลำไส้กลืนกัน

 

 

การป้องกันลำไส้กลืนกัน

 

  • ผู้ปกครองควรสังเกตอาการของบุตรหลานหากมีอาการงอตัว ร้องไห้เป็นพักๆ ควรรีบมาพบแพทย์ และไม่ควรซื้อยามาใช้เอง

 

  • ผู้ที่เคยเป็นโรคลำไส้กลืนกันในอดีต  หรือมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ ควรดูแลสุขอนามัยให้ดี เพราะว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำขึ้นได้

 

  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณลำไส้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดการติดเชื้อในกระแสเลือด และหากมีอาการผิดปกติควรรีบแจ้งแพทย์โดยทันที

 

 

ในการรักษาแบบไม่ผ่าตัดนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดการฉีกขาดของลำไส้ได้ และผู้ป่วยที่ลำไส้เกิดความเสียหายอย่างหนัก จะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพียงเท่านั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด  หลังจากการผ่าตัดลำไส้กลืนกัน จะต้องระมัดระวังภาวะขาดน้ำ และอาการชัก ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดขึ้นร่วมกับการมีไข้ขึ้นสูง แพทย์อาจให้ยากันชัก

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้