ระยะเวลาการนอนที่ดี และเหมาะสมต้องนอนให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง แต่บางคนอาจโหมทำงานหนัก หรือติดโทรศัพท์ ติดเกมจนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนอนมากนัก และคิดว่าการนอนน้อย หรือนอนดึกไม่ใช่เรื่องใหญ่ โดยอาจไม่ทราบว่าการนอนหลับนั้นส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างมาก ดังนั้นเรามาดูกันว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการนอนน้อย นอนดึกนั้นมีอะไรบ้าง รวมถึงวิธีแก้ปัญหาการนอนดึกที่จะช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือกิจวัตรประจำวันเพื่อให้เราสุขภาพที่ดีทั้งภายใน และภายนอก
นอนน้อย คือ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ดังนี้
ความจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องนอนหลับให้ครบ 8 ชั่วโมงเสมอไป เพราะการนอนเพียง 5-6 ชั่วโมงที่หลับลึก และไม่มีการสะดุ้งตื่นบ่อยสามารถทำให้รู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่าได้ไม่น้อยไปกว่าการนอนครบ 8 ชั่วโมง
การนอนน้อย นอนดึก หรือการนอนหลับไม่เพียงพออาจเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยให้ร่างกายควบคุมการนอน หรือตื่น ซึ่งมักจะมีปัญหา หรือได้รับผลกระทบมาจากสาเหตุอื่นๆ ดังนี้
การนอนหลับกับความดันโลหิตดูเหมือนจะไม่มีข้อเกี่ยวข้องกัน แต่ทั้งสองอย่างนั้นมีจุดที่เชื่อมโยงกัน คือ โดยปกติแล้วกลไกการทำงานของร่างกายในขณะที่นอนหลับสนิทจะมีผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง แต่การนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ความดันสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ โดยจะพบว่าคนที่นอนน้อยจะมีความดันเลือดที่สูงมากผิดปกติ และมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจถึง 2 เท่า โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
จะเห็นได้ว่าการนอนน้อย และนอนดึกนั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงควรหันมาใส่ใจเรื่องการนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากโรคร้าย