หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด
หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด

หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด (Miniscus Tear) คือ อาการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า หรือปวดบริเวณข้อพับ ซึ่งเกิดจากการอุบัติเหตุ เช่น การบิดหมุนที่ผิดท่า และเกิดจากการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาที่มีการปะทะหนักๆ เช่นฟุตบอล และอเมริกันฟุตบอล เข่าเป็นอวัยวะที่มีลักษณะซับซ้อน ทั้งกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ หากส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับความเสียหาย จะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวด และผลกระทบกับการเดินได้

 

 

หมอนรองกระดูกข้อเข่า

 

หมอนรองกระดูกข้อเข่ามีหน้าที่ในการรองรับแรงกระแทกจากเข่า ซึ่งเกิดขึ้นในอิริยาบถต่างๆ เช่นการยืน การกระโดด การวิ่ง เป็นต้น หมอนรองกระดูกเข่าจะลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่มีความยืดหยุ่น อยู่ระหว่างกระดูกหน้าแข้งและกระดูกต้นขา ทั้งด้านใน และด้านนอกเข่า อีกทั้งยังเป็นอวัยวะที่มีเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างน้อย หากหมอนรองกระดูกเข่าเกิดการฉีกขาด จะมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองน้อย ส่งผลกระทบต่อการรองรับแรงกระแทก เป็นสาเหตุของภาวะข้อเข่าเสื่อมได้

 

 

Miniscus Tear

 

 

อาการหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด

      

  • ปวดเข่า โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าเข่า หรือบริเวณหลังข้อพับ

      

  • ข้อเข่าบวม

      

  • เกิดอาการข้อเข่าขัด คือการเหยียดข้อเข่า หรืองอข้อเข่าได้ไม่สุด

      

  • ข้อเข่าล็อค

      

  • เกิดอาการบวม เข่าอ่อน หรือเข่าทรุด เมื่อเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่อง

      

  • มักจะมีอาการบาดเจ็บร่วมกับเส้นเอ็นในข้อเข่า เช่น เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด

 

 

การวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด

      

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจร่างกาย โดยใช้วิธีการตรวจทางรังสีแม่เหล็ก หรือการตรวจ MRI โดยเฉพาะ MRI Knee การตรวจส่วนข้อเข่า เพื่อตรวจดูความเสียหายบริเวณหมอนรองกระดูกข้อเข่า และเอ็นไขว้หน้าเข่า สามารถตรวจดูได้อย่างชัดเจน ซึ่งแพทย์จะสามารถวินิจฉัยความรุนแรงของอาการ และทำการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

 

 

วิดีโอ ประสบการณ์จริงจากคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (คลิก)

 

 

 

การรักษาหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด

      

  • การรักษาเบื้องต้นจะเริ่มจากการรักษาแบบประคับประคอง เช่น พักการใช้งานข้อเข่า ลดการลงน้ำหนักลงที่เข่า การประคบเย็นที่บริเวณเข่า และการรับประทานยาแก้อักเสบ

      

  • การรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเย็บซ่อมหมอนรองกระดูกข้อเข่า แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะของรอยแผล ขนาด ตำแหน่ง และระยะเวลาที่เกิดการบาดเจ็บ

      

  • การตัดหมอนรองเข่าทิ้งออกบางส่วน ในกรณีที่มีการฉีกขาดอย่างรุนแรง ไม่สามารถเย็บซ่อมได้ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เช่น ข้อเข่าติดได้

 

 

หากไม่ทำการรักษาอาการหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด จะส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ ดังนั้นหากมีอาการปวดเข่า เข่าบวม ไม่สามารถเหยียด หรืองอเข่าได้ ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายเป็นประจำ

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพข้อเข่า