“เด็กดื้อมักจะฉลาด” เพราะเด็กดื้อมักจะมีความคิดเป็นของตนเอง แต่บางครั้งพฤติกรรมดื้อ ไม่เชื่อฟังของเด็กอาจสร้างความลำบากใจให้กับคนดูแล หรือผู้ปกครองได้ พ่อแม่บางคนอาจคิดว่าเด็กดื้อเป็นเรื่องธรรมชาติ โดยเฉพาะเด็กสมัยใหม่ที่มักจะมีพัฒนาการ รวมถึงการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว แต่หากปล่อยเอาไว้เป็นเวลานานอาจส่งผลให้เด็กกลายเป็น ”โรคดื้อต่อต้าน” และส่งผลต่อพฤติกรรมในช่วงวัยรุ่นจนสร้างความเดือดร้อนให้คนรอบข้างได้
โรคดื้อต่อต้าน หรือ ODD (Oppositional Defiant Disorder) เป็นความผิดปกติในการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของเด็กต่อผู้ปกครอง หรือครู โดยมักจะพบโรคนี้ในเด็กที่มีอายุในช่วง 6-8 ปี และมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง หรือพบในวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ สาเหตุของโรคอาจเกิดจากพันธุกรรม ระบบประสาท หรือสภาพแวดล้อม เช่น การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงลูกผิดวิธี หรือการถูกรังแก เป็นต้น
หากเด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้มานานกว่า 6 เดือนอาจเข้าข่ายเป็นโรคดื้อต่อต้านที่ต้องรับการแก้ไขโดยด่วน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเด็ก และคนรอบข้างในอนาคตน้อยที่สุด
บางครอบครัวเมื่อพบว่าลูกเกิดพฤติกรรมต่อต้านอาจมีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่แย่ลงไปอีก โดยสิ่งที่ผู้ปกครองไม่ควรปฏิบัติมีดังนี้
สิ่งที่สำคัญของโรคนี้คือการใส่ใจ และการเลี้ยงดูของคนในครอบครัว การแก้ไขโรคนี้จึงต้องเริ่มจากครอบครัวเป็นหลัก โดยควรปฏิบัติดังนี้
หากมีการแก้ไขและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันภายในครอบครัวแล้ว แต่เด็กยังไม่ดีขึ้นควรเข้าพบจิตแพทย์เพื่อวางแนวทางแก้ไขให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และหายจากโรคดื้อต่อต้าน