ท่ามกลางการปกคลุมของฝุ่น PM2.5 ในเมืองหลวง และพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งการระบาดของ โควิด-19 ที่ยังไม่หมดไปจากโลกใบนี้สักที ทั้งสองสิ่งนี้ได้สร้างผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติทั้งทางร่างกาย และจิตใจ โดยเฉพาะอันตรายในระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้จะมาคลายข้อสงสัยกันว่า มันมีความแตกต่าง และสัมพันธ์กันอย่างไร รวมทั้งจะทำอย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อต้องอยู่ร่วมกับฝุ่น และเชื้อไวรัสนี้
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการของแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจน แต่ฝุ่นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นเซลล์ตรงเยื่อจมูกอ่อนแอลง เกิดการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เมื่อความชื้นในอากาศปริมาณจะสูงขึ้น มองเห็นเหมือนเมฆหมอกตั้งเคล้าก่อนฝนตก มาจากควันของยานยนต์พาหนะ มลพิษโรงงานอุตสาหกรรม การเผาทำลายทางเกษตรกรรม หากพบเชื้อโควิด-19 และออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง จะทำให้ปอดมีอาการแย่ลงเพิ่มขึ้นอีก เพราะฉะนั้นควรอยู่ในที่พักอาศัย ออกข้างนอกเท่าที่จำเป็น สามารถลดการได้รับอันตรายจากมลพิษเหล่านี้ได้
อย่างที่กล่าวไว้ในหัวข้อข้างต้น ฝุ่นนี้จึงไม่ใช่พาหะโดยตรงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ปกติแล้วปอดของมนุษย์จะมีตัวรับเซลล์ทั้งหมด 3 ตัว มีหน้าที่รักษาระบบการทำงานในร่างกายให้เป็นปกติ เสริมภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค ประกอบไปด้วย เอนไซม์ ACE2 โปรตีน DC-SIGN และ L-SIGN โดยเอนไซม์ตัวแรกนี้เป็นช่องทางเข้าสู่เซลล์ปอด รวมทั้งส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน คอยตรวจจับไวรัสและส่งสัญญาณเตือนรวมถึงช่วยควบคุมความดันโลหิตนั้น ในปอดของผู้ที่ได้รับมลพิษ สูบบุหรี่ มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งโคโรนาไวรัสจะเข้าไปโจมตีจุดนี้
ฝุ่นนี้ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เทียบขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ สามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูกเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนบนลงไปยังหลอดลม ถุงลมปอด ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยเข้าสู่กระแสโลหิตแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย จะรู้สึกแสบจมูก ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ อวัยวะในระบบทางเดินหายใจอักเสบ เช่น โพรงจมูก โพรงไซนัส คอ กล่องเสียง เหล่านี้เป็นระยะเฉียบพลัน ร่างกายอ่อนแอมาก รับเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียได้ง่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อภูมิต้านทานระบบภูมิคุ้มกันในน้ำเหลือง และเซลล์ ทำให้เกิดอาการที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เส้นเลือดในสมองแตก ตีบตัน (stroke) มะเร็งปอด, ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบแคบ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภูมิแพ้โพรงจมูก หอบหืด จะมีอาการเรื้อรัง ต้องเข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉิน หากไม่ทันท่วงที มีโอกาสเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
หน้ากาก N95
เครื่องฟอกอากาศ
หากมีอาการหายใจลำบาก หน้ามืด อ่อนแรง ไอติดต่อกัน ควรรีบพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรพกยาติดตัวเสมอ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูดฝุ่นละอองโดยตรง ทารกในครรภ์สามารถเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสุขภาพหลังติดโควิด LONG COVID