พังผืดในอุ้งเชิงกราน อาการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
พังผืดในอุ้งเชิงกราน อาการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

พังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion) คือ ภาวะพังผืดที่เกิดขึ้นรอบๆ อวัยวะทั้งหมดที่อยู่ในกระดูกอุ้งเชิงกราน เมื่ออวัยวะเกิดการอักเสบระคายเคือง หรือการบาดเจ็บ ตามกลไกของร่างกายก็จะทำการซ่อมแซมตัวเอง ด้วยการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ลักษณะเป็นเส้นใยเหนียวขึ้นมา  เพื่อจะทำการเหนี่ยวรั้งอวัยวะต่างๆ ให้กลับมาติดกัน ผู้ป่วยพังผืดในอุ้งเชิงกราน มักจะมีอาการปวดท้องท้องน้อย และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งเป็นอาการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน

 

  • การติดเชื้อในอวัยวะอุ้งเชิงกราน เช่น การติดเชื้อในมดลูก ปีกมดลูกท่อนำไข่ รวมทั้งภาวะไส้ติ่งอักเสบ

 

  • การอักเสบในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์

           

  • การผ่าตัดช่องท้อง เช่น การผ่าตัดคลอดบุตร ผ่าเนื้องอกมดลูก ผ่าตัดไส้ติ่ง

 

 

อาการพังผืดในอุ้งเชิงกราน

 

อาการปวด

         

ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดแบบตื้อๆ หรือปวดแบบบิดเป็นพักๆ แม้ในช่วงที่ไม่เป็นประจำเดือนก็ปวด โดยเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์

           

  • ปวดประจำเดือนมาก

 

  • ท้องผูก

 

  • ปัสสาวะบ่อย

 

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

  • ปวดหลังร้าวลงขา

 

อวัยวะตีบตัน

           

  • ลำไส้ตีบตัน

           

  • ท่อไตบวม

 

ภาวะมีบุตรยาก

           

  • พังผืดจะไปรัดท่อนำไข่ทำให้ตัวไข่ และสเปิร์มออกไม่ได้จึงทำให้มีบุตรยากขึ้น

 

 

การตรวจวินิจฉัยพังผืดในอุ้งเชิงกราน

 

ขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย ทั้งการปวดท้อง ปวดประจำเดือน และการมีบุตร หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจอย่างละเอียด ได้แก่

           

  • การตรวจอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน โดยทำการตรวจในห้องปฏิบัติการ

           

  • การตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อให้เห็นรอยโรคอย่างชัดเจน

           

  • การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

 

ปวดท้องน้อยบ่อยๆ

 

 

การรักษาพังผืดในอุ้งเชิงกราน

 

รักษาแบบประคับประคองอาการ

           

  • การใช้ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ เพื่อปวดท้องน้อย

           

  • การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือยาฉีดคุมกำเนิด เพื่อลดการมีประจำเดือนในปริมาณมาก และลดอาการปวดประจำเดือน

 

การผ่าตัดแบบส่องกล้อง MIS

           

  • ในการหาพังผืดในอุ้งเชิงกราน สำหรับผู้ป่วยบางคน แพทย์ก็ไม่สามารถหาได้ นอกจากการใช้กล้อง MIS (Advanced Minimally Invasive Surgery) จึงเป็นการวินิจฉัย และการรักษาร่วมกัน และในการรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีแผลที่เล็ก พักฟื้นในระยะเวลารวดเร็ว สามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์

 

หากมีอาการของภาวะพังผืดในอุ้งเชิงกราน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษาให้ทันท่วงที เพราะภาวะนี้ จะส่งผลให้มีบุตรยากและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และถ้าหากเกิดการลุกลามไปยังอวัยวะอื่น จะทำให้ร่างกายเกิดอันตรายได้มากกว่านี้เช่น