ปริทันต์อักเสบ โรคอันตรายที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก
ปริทันต์อักเสบ โรคอันตรายที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก

โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontal disease) หรือโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งเกิดจากคราบของจุลินทรีย์ที่สะสมในบริเวณเหงือก กระดูกรองรับรากฟัน เคลือบรากฟัน และเอ็นยึดรากฟันกับกระดูกเบ้าฟัน เมื่อไม่ได้รับการทำความสะอาดจนเกิดคราบสะสมเป็นเวลานานจึงกลายเป็นคราบหินปูนทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือกและเกิดการอักเสบในที่สุด

 

โรคปริทันต์อักเสบเกิดจากอะไร

 

สาเหตุหลัก ๆ จากโรคนี้มักมาจากคราบจุลินทรีย์ที่เกิดหลังจากการแปรงฟังแล้วประมาณ 2-3 นาที โดยจุลินทรีย์จะมาจากน้ำลายที่มีแบคทีเรียของอาหารที่เรารับประทานเข้าไปปะปนอยู่ เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จะผลิตสารพิษ และกรดออกมาย่อยสารเคลือบฟัน และเหงือกจนทำให้เกิดปัญหาเหงือกอักเสบนั่นเอง

นอกจากนี้โรคปริทันต์ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภูมิต้านทานต่ำ ขาดสารอาหารบางชนิด สูบบุหรี่ อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เป็นต้น

 

ระยะของโรคปริทันต์

 

โรคปริทันต์แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะคือ

  • ระยะที่ 1 เหงือกอักเสบ มีลักษณะบวม แดง มักพบมีเลือดออกบริเวณคอฟัน ในบางรายโรคอาจลุกลาม โดยพบว่ามีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน และกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ
     
  • ระยะที่ 2 โรคปริทันต์อักเสบระยะต้น ระยะที่เริ่มมีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน ไม่เกิน 1 ใน 3 ซี่ฟัน
     
  • ระยะที่ 3 โรคปริทันต์อักเสบระยะกลาง เป็นระยะที่มีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน จาก 2 ใน 3 ของซี่ฟัน แต่ยังไม่ถึงปลายราก
     
  • ระยะที่ 4 โรคปริทันต์อักเสบระยะปลาย ระยะที่การทำลายกระดูกรองรับรากฟัน ทั้งซี่ฟันจนถึงปลายรากทำให้เกิดฝีปลายรากมีอาการปวดร่วมด้วย ทำให้เหงือกร่น และอาจต้องถอนฟัน
     
  • ระยะที่ 5 ขั้นสุดท้าย เนื่องจากมีการละลายของกระดูกเบ้าฟันมากจนเกือบถึงปลายรากฟัน จะพบว่าโยกมาก เพราะไม่มีกระดูกมายึดไว้ซึ่งในขั้นนี้แพทย์จะทำการถอนฟันซี่นั้นออก เพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลามไปยังฟันซี่อื่น ๆ

 

ระยะการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ

 

สัญญาณการเกิดโรคปริทันต์

 

โรคปริทันต์เป็นโรคที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น และอาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมา แต่เราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้

  • เหงือกแดงผิดปกติ ปกติแล้วเหงือกจะเป็นสีชมพูอ่อน แต่หากเกิดการอักเสบเหงือกจะมีสีแดงที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน
     
  • เหงือกเริ่มบวม โดยจะมีอาการปวดบริเวณเหงือกร่วมด้วย
     
  • เลือดออกเมื่อแปรงฟัน รู้สึกมีเลือดออกตลอดเวลา หรือตอนบ้วนน้ำหลังแปรงฟัน แต่หากรู้สึกว่ามีเลือดออกตลอดเวลาแสดงว่าเหงือกกำลังมีปัญหารุนแรง
     
  • เหงือกมีปัญหา เหงือกร่นจนฟันมีขนาดยาวขึ้น และส่งผลให้ฟันโยก เพราะเหงือกไม่สามารถทำหน้าที่คลุมรากฟันและยึดฟันแต่ละซี่ได้ปกติได้
     
  • เริ่มมีกลิ่นปาก การสะสมของเชื้อแบคทีเรียเป็นจำนวนมากทำให้เหงือกอักเสบและมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ตามมาด้วย

 

การรักษาและการป้องกันโรคปริทันต์

 

  • ขูดหินปูน (Scaling) เป็นการขูดคราบสกปรกที่อยู่ตามร่องเหงือกและใต้เหงือก (ลึกลงไปประมาณ 3 มิลลิเมตร) โดยจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที
     
  • การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยให้ความร่วมมือทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอ หรือขูดหินปูนไปแล้วแต่ยังไม่หาย แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อสร้างเส้นใยเหงือก เอ็นยึด และกระดูกเบ้าฟันที่แข็งแรง
     
  • แปรงฟันอย่างถูกวิธี แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ได้แก่ ตอนเช้า และก่อนเข้านอน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีการเคลื่อนไหวภายในช่องปากทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์สะสมในตัวฟันได้ง่าย
     
  • หมั่นทำความสะอาดซอกฟัน โดยการใช้เส้นใย หรือไหมขัดซอกฟันเป็นประจำเพื่อขจัดคราบต่าง ๆ ที่สะสมตามซอกฟันออก

 

การรักษาความสะอาดภายในช่องปากเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และควรหมั่นตรวจสภาพฟันกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอด้วย