หูตึง อาการที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ
หูตึง อาการที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ

หูตึง (Presbycusis) คือ อาการที่ไม่ค่อยจะได้ยินเสียงชัดเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ สามารถเกิดขึ้นได้กับหูข้างเดียว หรือหูทั้งสองข้างก็ได้ ส่งผลให้มีปัญหาทางด้านการสื่อสาร

 

 

หูตึงอาการเป็นอย่างไร

 

  • ขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ ดังๆ เพราะได้ยินไม่ชัดเจนเพราะ

 

  • เอามือป้องหูไปด้วยในขณะที่ฟังคนอื่นพูด

 

  • เร่งความดังเสียงโทรทัศน์ วิทยุ หรือฟังเพลงในระดับเสียงมากกว่าปกติ

 

 

สาเหตุของอาการหูตึง

 

เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียง ในหูชั้นใน รวมทั้งประสาทบริเวณหูชั้นในสึกกร่อน ความเสื่อมจะค่อยๆ ลามไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นระดับของเสียงพูด ทำให้เริ่มฟังไม่ชัดเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือด เป็นต้น

 

 

การตรวจหูตึงด้วยตนเอง

 

สามารถสังเกตได้ด้วยตนเองเสียงจากกระซิบในระยะ 10 เซนติเมตร หรือยกมือขึ้นในระยะใกล้ๆ หู ราวๆ 1 นิ้ว ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งถูกันจนเกิดเสียงเบาๆ หากได้ยินแสดงว่าหูยังปกติอยู่ หากไม่ได้ยินแสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการหูตึง

 

 

หูตึง

 

 

การรักษาอาการหูตึง

 

หากอาการหูตึงที่เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน เส้นประสาทหู และระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัย มักจะรักษาไม่หายขาด

 

อาการหูตึงในผู้สูงวัยมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณาให้ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งช่วยทำหน้าที่เสมือนเครื่องขยายเสียงให้ดังขึ้น โดยใส่ไว้ในช่องหู สามารถถอดเก็บได้

 

 

ผลกระทบของอาการหูตึง

 

ผู้ป่วยอาการหูตึงมักจะมีความรู้สึกเครียด รู้สึกว่าคนอื่นรำคาญ เบื่อหน่าย ตนเองที่มีอาการหูตึง ซึ่งถ้าหากมีปัญหาหูตึง ควรจะไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

 

 

การป้องกันอาการหูตึง

 

  • หลีกเลี่ยงที่ที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล ไม่ว่าจะเป็นเสียงรถบนถนน หรือการฟังเพลงเสียงดัง

.

  • ควรใส่หูฟังแบบครอบ เพื่อป้องกันเสียงจากภายนอก เช่น ใส่ตอนอยู่สนามยิงปืน

 

  • ไม่ยัดสิ่งของเช่น สำลี ที่ปั่นหู เข้าไปในหู

 

 

บุตรหลานท่านใดที่มีผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัว และมีอาการหูตึง ควรพาท่านมาตรวจเพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย วิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อทำการรักษาหูตึง ก่อนที่จะหูหนวกไม่ได้ยินไปตลอด

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

คลินิก หู คอ จมูก 

 

 

สิทธิประกันสังคมปี 2565