นักจิตวิทยา ที่ปรึกษาที่เป็นมากกว่า “ไลฟ์โค้ช”
นักจิตวิทยา ที่ปรึกษาที่เป็นมากกว่า “ไลฟ์โค้ช”

หลาย ๆ คนน่าจะเคยมีประสบการณ์ฟัง “ไลฟ์โค้ช” มาบ้าง ซึ่งแนวคิด หรือแนวทางที่ได้เรารับฟังมาจำเป็นต้องผ่านวิจารณญาณ และการคิดไตร่ตรองให้ดีว่าสิ่งเหล่านั้นเราสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ตรงส่วนไหนบ้าง แต่นอกจากไลฟ์โค้ชแล้ว ในวงการแพทย์เองยังมีที่ปรึกษาที่สามารถให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิตเมื่อเจอปัญหา ไปจนถึงการวินิจฉัย และการรักษาสภาวะต่างๆ ทางอารมณ์ และความรู้สึกได้ นั่นคือ “นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์”

 

นักจิตวิทยากับไลฟ์โค้ชแตกต่างกันอย่างไร

 

สำหรับไลฟ์โค้ชนั้นสามารถพบได้ค่อนข้างมากในปัจจุบัน และมีด้วยกันหลากหลายประเภททั้งผู้ที่คอยให้กำลังใจเมื่อเราเจอปัญหา ผู้ที่คอยให้คำปรึกษาในบางเรื่อง และผู้ที่คอยให้คำแนะนำในการพัฒนาชีวิตด้านต่าง ๆ แต่สำหรับนักจิตวิทยา และจิตแพทย์นั้นพวกเขามีหน้าที่คอยดูแล และเป็นที่ปรึกษาปัญหาชีวิตที่หลายคนอาจไม่สามารถก้าวผ่านไปได้ หรือการมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึก และสภาวะทางจิตใจ แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้นยังมีคนอีกจำนวนมากที่มักมองว่าการเข้าพบนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ ถือเป็นสิ่งที่น่าอาย แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่เข้าปรึกษานั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีอาการทางจิตเสมอไป

 

นักจิตวิทยากับไลฟ์โค้ชควรเลือกใคร

 

อาจฟังดูสับสนว่าหากเราเจอปัญหาชีวิต ควรเลือกฟังฝั่งไหนระหว่างนักจิตวิทยา กับไลฟ์โค้ช ซึ่งกรณีนี้ต้องวัดจากปัญหาที่เราเจออย่างเช่น หากเราเหนื่อยล้ากับชีวิตต้องการแนวทางที่สร้างกำลังใจ หรือต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาชีวิตเราอาจจะฟังไลฟ์โค้ช แต่หากเราเจอปัญหาที่ก่อเกิดความเครียด หรือสภาวะที่ส่งผลต่อด้านจิตใจ และการปรึกษาหรือฟังผู้อื่นไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับเราได้ เราอาจต้องเข้าพบนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์เพื่อพูดคุยถึงปัญหา ทำการวินิจฉัย และรักษาหรือบำบัดต่อไปหากจำเป็น จนกว่าสภาวะดังกล่าวจะหายจนเป็นปกติ

 

นักจิตวิทยา

 

นักจิตวิทยา และจิตแพทย์เหมือนกันหรือไม่

 

หากใครยังคิดว่านักจิตวิทยา และจิตแพทย์เหมือนกัน ถือว่าเป็นความเข้าใจผิด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้ง 2 หน้าที่นี้มีจุดประสงค์เดียวกันคือต้องการให้ผู้ที่มีปัญหาด้านต่าง ๆ ในชีวิตสามารถก้าวผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ได้ โดยหน้าที่ของพวกเขาสามารถกล่าวได้ดังนี้

 

  • จิตแพทย์ มีหน้าที่หลัก ๆ ในการวินิจฉัย และหาวิธีในการดูแลรักษาให้หายจากอาการสภาวะต่าง ๆ
  • นักจิตวิทยา มีหน้าที่คอยให้คำปรึกษา และทำการบำบัด แต่ไม่มีอำนาจในการวินิจฉัย หรือสั่งยารักษาได้

 

ถึงจะมีอำนาจหน้าที่ค่อนข้างแตกต่างกัน แต่ทั้งสองต้องคอยทำงานร่วมกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาดี และสามารถแก้ปัญหาอาการหรือสภาวะต่าง ๆ ได้ เช่น ความเครียด ปัญหานอนไม่หลับ โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรคซึมเศร้า เป็นต้น

 

เมื่อไหร่ที่ควรเข้าพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์

 

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องแปลก และน่าอาย ยิ่งถ้าหากปล่อยเอาไว้จะยิ่งส่งผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกจนยากที่จะรักษาได้ โดยอาการที่แสดงออกมา และเป็นสัญญาว่าควรเข้าพบผู้เชี่ยวชาญได้แก่

 

  • มีพฤติกรรมหรือแนวโน้มจะทำร้ายตนเอง
  • มีพฤติกรรมรุนแรงต่อคนรอบข้าง หรือชอบทำลายข้าวของ
  • เคยมีประวัติเป็นภาวะซึมเศร้ามาก่อน
  • มีความเครียดมากเกินไป หรือสะเทือนใจจากเหตุการณ์ในชีวิตจนก้าวผ่านไม่ได้
  • เคยพบเจอกับเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจในวัยเด็กมาก่อน

 

ปัญหา หรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่เราต้องพบเจอในแต่ละวัน มีทั้งปัญหาที่เราสามารถค้นพบวิธีที่จะทำให้เราสามารถผ่านพ้นไปได้ และปัญหาที่เราไม่สามารถผ่านไปได้ด้วยตนเอง เราจึงควรเลือกแนวทางในการรักษาที่เหมาะสม เพื่อสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ด้วยความปกติได้โดยเร็ว