ไซนัสอักเสบ อีกโรคที่ต้องระวังช่วงหน้าฝนถึงฤดูหนาว
ไซนัสอักเสบ อีกโรคที่ต้องระวังช่วงหน้าฝนถึงฤดูหนาว

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) คือ การติดเชื้อที่ทำให้อวัยวะที่มีลักษณะเป็นโพรงอากาศติดกับช่องจมูกตีบตัน มีสารคัดหลั่งคั่งอยู่ภายในโพรงจมูก จนเป็นหนองอักเสบ ซึ่งสภาวะนี้ทำให้เชื้อโรคมีการเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะฤดูฝนถึงหนาว ที่มีสภาพอากาศเย็น ชื้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบเฉียบพลัน หากแต่ล่ะปีเป็นน้อยกว่า 4 ครั้ง หลังเป็นหวัดสามารถรักษาหายเองได้ ภายใน 3 สัปดาห์ และชนิดแบบเรื้อรัง ที่เป็นมานานกว่า 3 เดือน แตกต่างจากไข้หวัด

 

 

ไซนัสอักเสบเกิดจากอะไร

 

เชื้อโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่

 

  • ภูมิแพ้

 

  • เชื้อที่บริเวณรากฟัน มักจะอยู่ด้านในของกระพุ้งแก้ม เนื่องจากกระดูกที่คั่นกลางกับไซนัสนั้นบางมาก

 

ความผิดปกติภายในจมูกที่เกิดการอุดตัน เช่น

 

  • มีเนื้องอก

 

  • ริดสีดวง

 

  • ผนังกั้นจมูกคดหรือมีขนาดใหญ่

 

  • ช่องจมูกแคบ

 

พฤติกรรม ได้แก่

 

  • สูบบุหรี่

 

  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษทางอากาศ

 

  • ว่ายน้ำในสระคลอรีน เมื่อสำลักจะระคายเคืองเยื่อบุภายในไซนัส

 

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ

 

 

มลภาวะพิษทางอากาศ

 

 

อาการไซนัสอักเสบ

 

ปวดบริเวณอวัยวะที่ใกล้เคียงกับไซนัส เช่น

 

  • หน้าผาก

 

  • ตา

 

  • โหนกแก้ม

 

  • ศีรษะ

 

  • หู

 

ความผิดปกติอื่น ๆ

 

  • คัดแน่นจมูก

 

  • หายใจไม่สะดวก 

 

  • น้ำมูกเป็นหนองข้นสีเขียว เหลือง

 

  • ได้กลิ่นเหม็นคาว

 

  • เป็นไข้

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • เจ็บคอ

 

 

หนองไหลออกจากจมูก

 

 

การวินิจฉัยไซนัสอักเสบ

 

ในขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติ และส่องดูโพรงจมูกด้านในด้วยตาก่อน รวมทั้งการกดเจ็บบริเวณอวัยวะที่ใกล้กับไซนัสบนใบหน้า หลังจากนั้นจะใช้เทคโนโลยีเครื่องมือการตรวจที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อพิจารณาจากสารคัดหลั่ง พยาธิสภาพ และวินิจฉัยอย่างละเอียด ได้แก่

 

  • การส่องกล้อง

 

  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan

 

  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

 

 

ส่องกล้องตรวจจมูก

 

 

การรักษาไซนัสอักเสบ

 

หากเกิดจากไวรัส

 

  • รับประทานยาแก้ปวด

 

  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อชำระสารคัดหลั่งจากภายใน

 

  • ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก ลดอาการบวมของเนื้อเยื่อ

 

ติดเชื้อแบคทีเรีย

 

  • ใช้ยาปฏิชีวนะ

 

  • ยาฆ่าเชื้อ

 

การผ่าตัดส่องกล้อง

 

  • ผู้ป่วยแบบชนิดเรื้อรัง ใช้ยาแล้วไม่หายเริ่มมีอาการแทรกซ้อน เช่นสายตาผิดปกติ ปวดศีรษะ อาเจียน คออักเสบ หอบหืด เป็นต้น

 

 

ยารักษาไซนัสอักเสบ

 

 

ไซนัสอักเสบห้ามรับประทานอะไร

 

อาหารที่มีไขมันสูงและรสจัด ได้แก่

 

  • ของทอด

 

  • เบคอน

 

  • ซอสมายองเนส

 

  • ชีส

 

  • ไข่แดง

 

  • เนื้อสัตว์ทะเล และเครื่องในอื่น ๆ

 

  • ผลไม้น้ำตาลสูง

 

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

 

  • กาแฟ

 

  • ผลิตภัณฑ์ชูกำลัง

 

  • ชา

 

  • สุรา

 

  • เบียร์

 

  • รวมทั้งน้ำหมัก ดอง พื้นบ้านที่ทำให้มึนเมา

 

 

ไซนัสอักเสบห้ามกิน

 

 

การป้องกันไซนัสอักเสบ

 

  • รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชที่มีวิตามินซีสูง

 

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • ใกล้ถึงฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบ

 

  • ไม่ใกล้ชิดหรือใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

 

  • ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งอยู่สูดดมกลิ่นควันจากการเผาไหม้ทุกชนิด

 

  • หลีกเลี่ยงอากาศอับชื้น ใช้เครื่องกรองอากาศ เพื่อป้องกันจมูกติดเชื้อ

 

 

นอกจากนี้ รา ก็ทำให้เป็นโรคไซนัสอักเสบ แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก อีกทั้งไม่สามารถใช้ยารักษา จะต้องผ่าตัดเพียงอย่างเดียว และปี 2566 นี้ ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมายืนยันว่าเชื้อโควิด-19 หายไปจากโลกมนุษย์แล้ว หากติดเชื้อป่วยด้วยกันทั้ง 2 โรค อาการความผิดปกติจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรได้รับวัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแต่ละโรคต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล โรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการที่หลากหลาย และแพทย์ที่คอยให้บริการแนะนำปรึกษาปัญหาสุขภาพอีกด้วย

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

คลินิกหูคอจมูก

 

 

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 2023)

 

 

ริดสีดวงจมูก เกิดขึ้นและรักษาอย่างไร