กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) คือ ภาวะการเสื่อมสภาพของกระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการติดแข็ง ไม่ยืดหยุ่น การรับน้ำหนัก หรือการเคลื่อนไหวทำได้ไม่เหมือนปกติ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่ อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบว่า คนอายุน้อยเป็นกันมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่างของร่างกาย เช่น กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical Spine) และกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว (Low Back)
การเกิดแรงกดบนหมอนรองกระดูก และข้อต่อของกระดูกสันหลังที่โค้งงอมาเป็นเวลายาวนาน จนเกิดการเสื่อมสภาพ ร่างกายจึงสร้างกระดูกบริเวณข้อต่องอกออกมา จนไปเบียด หรือกดทับเส้นประสาท และไขสันหลัง ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้
อายุที่สูงขึ้น
การมีน้ำหนักตัวที่เยอะ
กรรมพันธุ์
พฤติกรรมการใช้งานกระดูกสันหลังมากเกินไป
ในขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วยถึงลักษณะอาการปวด หลังจากนั้นก็ตรวจร่างกายเบื้องต้นตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย เช่น การหัน เอียงศีรษะจากซ้ายไปขวา, การก้ม-เงย เคลื่อนไหวเอวตามทิศทางต่างๆ, การตอบสนองจากการสัมผัสมือ และขา หากผู้ป่วยมีท่าทีของอาการที่รุนแรง ก็จะใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยให้ตรงกับจุดเกิดโรคเพิ่มเติม ได้แก่
การใช้ยา
ยาแก้ปวด
ยาแก้อักเสบ ที่ไม่มีสเตียรอยด์
การฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง
การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงกระดูกสันหลัง ทั้งบริเวณคอ และหลัง
การทำกายภาพบำบัด
การผ่าตัด
ผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อมสามารถทำการออกกำลังกาย โดยใช้ท่าบริหารร่างกายตามคำแนะนำของแพทย์ และนักกายภาพบำบัดได้ เช่น
ท่ายืด เหยียดกล้ามเนื้อคอ
ท่ายืดกล้ามเนื้อสะโพก
หมุนเอว
ท่าบริหารเชิงกราน
หลีกเลี่ยงลักษณะท่าทาง หรืออิริยาบถต่างๆ
สิ่งที่ควรปฏิบัติ
กระดูกสันหลังเสื่อมที่มีการกดทับเส้นประสาทจากอุบัติเหตุ มีความเสี่ยงถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ หากมีอาการปวดหลังแบบเป็นๆ หายๆ รู้สึกแขน ขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือการเดินผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์โดยทันที ปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ได้น่ากลัว เพราะมีการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ป่วย เช่น การส่องกล้องผ่าตัด การใช้เลเซอร์ ทำให้ลดการติดเชื้อหลังผ่าตัด เสียเลือดน้อย ใช้ระยะเวลาพักฟื้นน้อยลง สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติได้เร็วขึ้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง