ไข้หวัดมะเขือเทศ โรคที่มีลักษณะคล้ายมือเท้าปาก
ไข้หวัดมะเขือเทศ โรคที่มีลักษณะคล้ายมือเท้าปาก

ไข้หวัดมะเขือเทศ  (Tomato Flu) คือโรคติดต่อที่มีลักษณะคล้ายมือเท้าปาก เนื่องจากสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกัน ได้แก่ไวรัสคอกซากี A16 (Coxsackie A 16) ซึ่งการแพร่ระบาดนั้นมาจากการสัมผัสวัตถุที่ไม่สะอาด หรือเชื้อเจือปนกับวัตถุอาหาร และรับประทานเข้าไป มักจะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศที่มีภูมิอากาศเย็น มีความชื้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ผู้ป่วยโรคไข้หวัดมะเขือเทศสามารถพักฟื้นจนอาการหายเป็นปกติประมาณ 7-10 วัน และยังไม่มีการรายงานความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

 

 

อาการของโรคไข้หวัดมะเขือเทศ

 

  • มีไข้สูง

 

  • มีตุ่ม หรือผื่นแดง รวมทั้งแผลพุพองขึ้นตามร่างกาย เช่น ภายในช่องปาก ฝ่ามือ และฝ่าเท้า หากได้รับการสัมผัสผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ

 

อาการร่วมอื่นๆ

 

  • ไอ เจ็บคอ

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • ปวดท้อง

 

  • ท้องร่วง

 

  • ปวดข้อ และปวดเมื่อยตามร่างกาย

 

  • อ่อนเพลีย

 

 

การวินิจฉัยโรคไข้หวัดมะเขือเทศ

 

ในขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย และทำการตรวจร่างกายเบื้องต้น หลังจากนั้นจะทำการตรวจหาเชื้อโรค ได้แก่

 

การใช้ชุดตรวจ PCR

 

  • โดยการสวอปตุ่มน้ำ และลำคอ เพื่อหาเชื้อคอกซากี A16 (Coxsackie A 16) ในร่างกาย

 

นอกจากโรคมือเท้าปากแล้ว โรคไข้หวัดมะเขือเทศมีอาการใกล้เคียง และความสัมพันธ์กับโรคอื่นๆ เช่น

 

  • โรคไข้เลือดออก

 

  • โรคชิคุณกุนยา

 

แต่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และฝีดาษลิง

 

 

การรักษาโรคไข้หวัดมะเขือเทศ

 

รักษาตามอาการคล้ายโรคไข้หวัดธรรมดาทั่วไป ได้แก่

 

การรับประทานยา

 

  • ยาแก้ปวด

 

  • ยาลดไข้

 

รับประทานอาหารอ่อนๆ

 

  • เช่น โจ๊ก

 

  • ข้าวต้ม

 

  • ซุป

 

  • แกงจืด

 

การรักษาแบบอื่นๆ เพิ่มเติม 

 

  • ดื่มน้ำเปล่าสะอาดในปริมาณที่เยอะขึ้นกว่าปกติ

 

  • ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดในอุณหภูมิปกติบิดหมาดๆ เช็ดตัว เพื่อลดไข้

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • อยู่ภายในที่พัก ไม่ควรออกไปพบผู้คน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ

 

 

การป้องกันโรคไข้หวัดมะเขือเทศ

 

  • ล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี หลังทำกิจกรรมต่างๆ เป็นประจำ

 

  • ทำความสะอาดวัตถุที่มักสัมผัส โดยเฉพาะของเล่นเด็ก

 

  • ลดการสัมผัส หรือออกไปพบกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

 

  • หากพบอาการความผิดปกติ หรือคาดว่าได้รับเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์

 

 

ไข้หวัดมะเขือเทศ

 

 

ไข้หวัดมะเขือเทศในประเทศไทย

 

ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดมะเขือเทศในประเทศไทย แต่ทางด้านกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้มีมาตรการเฝ้าระวัง ตั้งแต่การคัดกรอง รวมทั้งการรักษาผู้ป่วย รับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ทั้งนี้ครอบครัวใดที่มีบุตรหลานในวัยเด็กเล็ก  ควรทำการป้องกัน และระมัดระวังการติดเชื้อโรคไข้หวัดมะเขือเทศ

 

 

โรคไข้หวัดมะเขือเทศพบครั้งแรกในอำเภอโกลลัม รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 โดยที่มาของชื่อโรคนั้นก็มาจากตุ่ม ผื่นสีแดง ที่มีลักษณะคล้ายกับผลของมะเขือเทศ ทั้งนี้หากมีอาการใกล้เคียงกับโรค ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ เพราะถ้าหากตรวจพบว่าเป็นโรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (EV 71) จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที และถูกวิธี หากละเลยอาจมีความเสี่ยงถึงขั้นภาวะสมองอักเสบ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ