การฝังเข็ม
รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม

 

การฝังเข็ม หรือ Acupuncture เป็นหนึ่งในศาสตร์ของแพทย์แผนจีน โดยสืบทอดและใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี วิธีการรักษา คือ ใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดบนร่างกาย โดยจุดนั้นจะต้องเป็นจุดที่มีพลังงานเยอะกว่าจุดอื่น ๆ ทำให้พลังงาน        และอวัยวะในร่างกายที่เกิดการเสียสมดุล กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลเช่นเดิม

 

การฝังเข็ม คือ การแทงเข็มขนาด 0.20-0.30 มม. ยาว 30-45 ซม. ผ่านผิวหนังบริเวณจุดฝังเข็มไปที่เส้นลมปราณ เพื่อทำการรักษาในแต่ละโรคของเส้นลมปราณนั้น ๆ จำนวนเข็มขึ้นอยู่กับโรคแต่ละโรค ระยะเวลาประมาณ 30 นาที จึงนำเข็มออก

 

 

 

 

อาการและโรคที่รักษาด้วยการฝังเข็มและได้ผลการรักษาดี

 

 

  • โรคปวดหัวไมเกรน ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่า หมอนรองกระดูกทับเส้น

 

 

 

 

  • ปรับสมดุล ร่างกาย

 

 

  • กลุ่มโรคอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ บ้านหมุน ทางเดินอาหาร กรดไหลย้อน และโรคภูมิแพ้


 

อาการและความรู้สึกขณะฝังเข็ม 

 

 

  • ขณะฝังเข็มจะรู้สึกเมื่อถึงเส้นลมปราณว่า ตื้อ  ปวด หนัก แปล๊บ ๆ ซึ่งแต่ละคนจะรู้สึกต่างกันได้

 

 

  • ขณะคาเข็มจะรู้สึก ตึง หนัก ชา บริเวณนั้น หรืออาจรู้สึกว่าเหมือนมีอะไรวิ่ง วูบวาบอยู่ภายในตัว

 

 

  • ขณะเอาเข็มออกจะรู้สึกเจ็บจี๊ด หรือมีเลือดซึมเล็กน้อยบริเวณรูเข็ม (ควรตรวจดูว่ามีเข็มคาอยู่หรือไม่)

 

 

  • หลังฝังเข็ม 1-2 วัน บางท่านจะมีอาการปวดตึง แต่ส่วนมากจะไม่มีอาการ สามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ตามปกติ

 

 

 

 

การรักษาโรคด้วยวิธีการฝังเข็มช่วยในเรื่องใดบ้าง

 

 

  • บรรเทาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและการเจ็บปวดตามร่างกาย 

 

 

  • กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย 

 

 

  • แก้ไขปัญหาการไหลเวียนโลหิตที่ติดขัด

 

 

  • ช่วยปรับสภาพสมดุลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ 


 

ระยะเวลาในการฝังเข็ม

 

 

ฝังเข็มใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที/ครั้ง แล้วแต่แพทย์พิจารณาว่าควรมาต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง เพื่อผลการรักษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

 

ข้อแนะนำในการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม

 

 

  • หลังจากที่เริ่มกระบวนการฝังเข็ม ควรอยู่ในท่าที่แพทย์กำหนดเป็นระยะเวลา 25-30 นาที

 

 

  • ในขณะเข้ารับการฝังเข็ม ถ้าเกิดอาการผิดปกติกับร่างกาย ควรรีบแจ้งแพทย์ทันที

 

 

 

 

ข้อห้ามสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม 

 

 

  • สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์

 

 

  • ผู้ป่วยที่ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าอยู่ในตัว

 

 

  • มีโรคทางเลือด และกินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ 

 

 

ข้อห้ามอื่นที่ควรไปรักษาโดยวิธีอื่นก่อน 

 

 

  • เกิดอาการกลัวเข็มมากจนเป็นลม

 

 

  • มีโรคทางจิตเวช และโรคเลือด

 

 

 

 

ข้อปฏิบัติในการฝังเข็ม

 

 

  • ทานอาหารก่อนทุกครั้งที่จะมาฝังเข็ม และพักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

  • ให้มีญาติของผู้ป่วยมาด้วย ในกรณีที่มีอายุมาก หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

 

 

 

 

  • ขณะฝังเข็มห้ามเคลื่อนไหวบริเวณที่ปักเข็ม เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้

 

 

  • ให้มาตามนัดเพื่อที่จะได้รักษาอย่างต่อเนื่อง หากผิดนัดถือว่าท่านสละสิทธิ์ให้ผู้อื่นแทน



การฝังเข็ม เป็นวิธีการรักษาที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน ซึ่งมีงานวิจัยและผลการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าสามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้จริง ๆ ผู้ป่วยทุกท่านควรหาข้อมูลว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ช่วยบรรเทาอาการได้จริงหรือไม่ รักษาโรคอะไรได้บ้าง มีข้อแนะนำและข้อห้ามอย่างไร ถ้าผู้ป่วยท่านใดที่เข้ารับการรักษาโดยการฝังเข็ม และมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด เกิดอาการปวดมากขึ้น ควรรีบแจ้งกับทางแพทย์หรือพยาบาลทันที