เหน็บชา
เหน็บชา อาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

 

คุณเคยลุกขึ้นยืน หรือเพิ่งตื่นนอน จากการอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน จากนั้นขาก็เริ่มไร้ความรู้สึก และรู้สึกจี๊ด ๆ ซ่า ๆ แบบโทรทัศน์ที่ไม่มีสัญญาณไหม อาการเหล่านี้มีชื่อเรียกที่เราคุ้นหูกันดี คือ เหน็บชา หรือ Beriberi

 

 

เหน็บชา อาการเป็นอย่างไร 

 

 

เหน็บชาในเด็ก 

 

 

สามารถพบได้ในเด็กอายุ 2-3 เดือน ที่รับประทานนมแม่ และคุณแม่กินอาหารที่ขาดวิตามิน บี 1 ทารกอาจจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หอบเหนื่อย ตัวบวม หัวใจเต้นเร็ว ตัว และหน้าเขียว ในบางรายอาจจะมีอาการหนังตากระตุก หรือหนังตาบนตก ส่วนตัวทารกยังร้องออกมาไม่มีเสียง หรือเสียงแหบ หากไม่ได้รับการรักษาภายใน 2-3 ชั่วโมง อาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ 


 

เหน็บชาในผู้ใหญ่

 

 

เหน็บชาในผู้ใหญ่ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

 

 

เหน็บชาชนิดผอมแห้ง 

 

 

  • ชาตามปลายมือ และเท้า 

 

 

  • กล้ามเนื้อแขน ขาไม่มีแรง 

 

 

  • พูดไม่ชัด ติดขัด

 

 

 

 

  • อาเจียน 

 

 

  • อาจจะมีอาการตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว

 

 

เหน็บชาชนิดเปียก 

 

 

  • มีอาการหอบเหนื่อย

 

 

  • หัวใจโต และเต้นเร็ว

 

 

  • มีอาการบวมร่วมกับชาที่ปลายมือ และเท้า 

 

 

  • เกิดน้ำคั่งในช่องท้อง และช่องปอด

 

 

  • อาจจะส่งผลให้เกิดหัวใจวายได้ หากไม่ได้รับการรักษาทันที 

 

 

Wernicke-Korsakoff Syndrome

 

 

  • เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตา 

 

 

  • เดินไม่ตรง และเซไปเซมา

 

 

 

 

  • ภาวะจิตใจเกิดความผิดปกติ

 

 

เหน็บชา เกิดจากสาเหตุใด

 

 

  • ขาดวิตามินบี 1 หรือไทอามีน

 

 

  • อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง เบาหวาน เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

  • อาจจะเกิดอาการที่เรียกว่า เหน็บชาจากกรรมพันธุ์ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการต่อต้านการดูดซึมของวิตามิน บี 1

 

 

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง จะส่งผลให้ตับไม่สามารถนำวิตามิน บี 1 มาใช้ประโยชน์ต่อร่างกายได้ 

 

 

เหน็บชา มีภาวะแทรกซ้อนอย่างไร 

 

 

หากขาดวิตามิน บี 1 อย่างรุนแรง จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกาย เกี่ยวกับระบบประสาท หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และทันที อาจจะนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนอาจจะก่อให้เกิดโรคขึ้น ดังนี้

 

 

  • โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง

 

 

 

 

 

 

  • ภาวะทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff's Psychosis

 

 

เหน็บชา มีวิธีการรักษาอย่างไร 

 

 

กรณีที่อาการไม่ได้รุนแรงมาก 

 

 

แพทย์จะให้วิตามิน บี 1 แบบเม็ดแก่ผู้ป่วย ให้รับประทานเป็นอาหารเสริม 

 

 

กรณีที่อาการรุนแรง 

 

 

อาจจะต้องให้วิตามิน บี 1 ผ่านทางหลอดเลือดดำ หรือต้องฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ ส่วนปริมาณ หรือระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และอาการของผู้ป่วย แพทย์อาจจะติดตามอาการของผู้ป่วย หรือตรวจสอบการดูดซึมของวิตามินบี 1 โดยการตรวจเลือด

 

 

เหน็บชา และการป้องกัน

 

 

  • รับประทานอาหารจำพวก ถั่ว ธัญพืช ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน บี 1

 

 

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของดิบ ของหมักดอง เพราะอาหารจำพวกดังกล่าว จะขัดขวางการดูดซึมของวิตามิน บี 1

 

 

 

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะพบผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง มักจะเกิดเหน็บชาร่วมด้วย 


 

เหน็บชา เป็นอาการที่อยู่คู่กับเรามาตลอดเวลา มักจะเกิดขึ้นในตอนที่เราไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย และอยู่กับที่เป็นเวลานาน อาการจะไม่ได้รุนแรงนัก ส่วนมากจะมีอาการชา บริเวณอวัยวะที่เราไม่ได้ขยับเท่านั้น แต่ไม่ควรประมาท เพราะเหน็บชามีอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจจะส่งผลต่อชีวิตได้ หากใครมีอาการแทรกซ้อนของเหน็บชา ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน ก่อนที่ภาวะแทรกซ้อนจะทวีคูณความรุนแรงขึ้น



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

อาการชาปลายนิ้ว ชาแบบไหนเสี่ยงโรค