มะเร็งในวัยรุ่น
มะเร็งในวัยรุ่น

โรคร้ายต่าง ๆ ตามมายาคติแล้วมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ แต่วัยรุ่นซึ่งอยู่ระหว่างในช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ สามารถป่วยเป็นมะเร็งได้ ถือว่าเป็นความผิดปกติ เพราะธรรมชาติวัยนี้ร่างกายจะแข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งนี้มาจากวิถีการดำเนินกิจกรรมในชีวิตที่เปลี่ยนไปจากบุคคลยุคก่อน อาจจะทำให้ละเลยความใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ ดังนั้นผู้ที่กำลังเรียนหรือศึกษาอยู่ หากอวัยวะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเจ็บปวดแต่อย่างใด ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง 

 

 

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งในวัยรุ่น

 

  • กรรมพันธุ์

 

  • การติดเชื้อโรคเช่น ไวรัส EVB และ HIV

 

  • สูบบุหรี่

 

  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ควัน ละอองจากโรงงานอุตสาหกรรม

 

  • รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ไม่สะอาด การปรุงสุกโดยไม่ผ่านความร้อนหรือประเภทปิ้ง ย่าง รมควันคนไหม้เกรียม มีไขมันสูง รวมทั้งบริโภครสชาติจัดจนเกินไป

 

 

วัยรุ่นกินไก่ทอด

 

 

ชนิดของมะเร็งที่มักพบในวัยรุ่น

 

มักจะพบในบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้

 

  • ต่อมน้ำเหลือง

 

  • เม็ดเลือดขาว

 

  • ปอด

 

  • ตับ

 

  • ลำไส้ใหญ่

 

  • ไทรอยด์

 

  • สมอง

 

  • กระดูกและกล้ามเนื้อ

 

  • ลูกอัณฑะ

 

  • เนื้อเยื่ออ่อน

 

 

อาการมะเร็งในวัยรุ่น

 

ระยะแรก ๆ มักไม่แสดงความผิดปกติออกมา แต่ถ้าหากตรวจร่างกายเป็นประจำก็อาจจะพบเนื้อร้ายที่บริเวณอวัยวะของร่างกายได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

 

อาการทั่วไป

 

  • ได้แก่ เบื่ออาหาร

 

  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

  • เป็นไข้เรื้อรัง

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • ปวดข้อและกระดูก

 

  • ระบบย่อยอาหารรวมทั้งการขับถ่ายผิดปกติ

 

อาการเฉพาะ

 

  • เช่น มะเร็งปอด จะไอเรื้อรัง เหนื่อย หอบได้ง่าย

 

  • คลำพบก้อนเนื้อได้ที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไหปลาร้า รักแร้ เต้านม หรือช่องท้อง เป็นต้น

 

 

เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง

 

 

การป้องกันมะเร็งในวัยรุ่น

 

การได้รับปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะเชื้อโรคจากกรรมพันธุ์ เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ยาก แต่สามารถลดความเสี่ยงจากการใช้ชีวิตประจำวันอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ไม่สูบบุหรี่

 

  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ

 

  • รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ เช่น ผ่านการปรุงสุก มีไขมันต่ำ รสชาติไม่จัดจนเกินไป เป็นต้น

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • ควบคุมน้ำหนักตัวอย่างถูกวิธี

 

 

สำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในวัยรุ่นนี้จะหายขาดได้ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะการแพร่กระจายของเนื้อร้าย ทั้งการร่วมมือของทุกฝ่ายไม่ใช่จะเป็นแพทย์แต่เพียงผู้เดียว ครอบครัว ผู้ปกครอง ต้องให้กำลังใจเคียงข้างผู้ป่วยด้วย ดังนั้นผู้ที่อยู่ในช่วงกำลังศึกษาเล่าเรียน ควรมาทำการตรวจสุขภาพ เพราะถ้าหากพบความผิดปกติได้เร็วขึ้น ประสิทธิภาพการรักษาก็จะยิ่งสูง

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าเรียน

 

 

ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน และก่อนเข้าเรียน